ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สถ. ร่วมหารือแนวทางการทำ MOU การขับเคลื่อนสังคมและระบบสุขภาพที่เป็นธรรมตามธรรมนูญด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565


เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การขับเคลื่อนสังคมและระบบสุขภาพที่เป็นธรรมตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 โดยมี นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เข้าร่วมการประชุม หลังได้รับมอบหมายจาก นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดี สถ.

1

ทั้งนี้ สถ. เป็นหน่วยงานสนับสนุนส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านสาธารณสุขให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงการบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตามมาตรา 250 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งบัญญัติให้ อปท. มีหน้าที่ อำนาจดูแล และการทำบริการสาธารณะ

เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และผู้บริหารท้องถิ่น เป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวก ร่วมคิด ร่วมทำ โดย สถ. มีกิจกรรม และโครงการที่เกี่ยวข้องที่ได้ดำเนินการ 4 เรื่อง ประกอบด้วย 1. การขับเคลื่อนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่ อปท.

2

สำหรับการถ่ายโอนภารกิจ เมื่อ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ได้รับการถ่ายโอนสถานี สอน. และ รพ.สต. แล้ว ต้องมีการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ โดยมีคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ของ อบจ. พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ และเมื่อ อบจ. ได้ประกาศใช้แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่แล้วให้ถือว่าเป็นแผนพัฒนาท้องถิ่นของ อบจ. สามารถนำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้

2. มท. ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท 0819.2/ว 666 ลงวันที่ 27 ม.ค. 2566 เรื่อง แนวทางการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ขอความร่วมมือจังหวัดแจ้ง อบจ. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระบบสุขภาพปฐมภูมิและกฎหมายลำดับรอง ตลอดจนคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566

3

เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีสิทธิได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นธรรม มีคุณภาพ มาตรฐาน ครอบคลุม 5 มิติ คือ การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การบำบัดและป้องกันควบคุมโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการยกระดับการจัดบริการระบบสุขภาพปฐมภูมิ

3. การบริหารจัดการด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกัน และระงับโรคติดต่อ อปท. นอกจากจะมีงบประมาณของตนเองในการบริหารจัดการด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่แล้ว สามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ โดยการสมทบงบประมาณเข้าร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) ตามสัดส่วนรายได้ของ อปท. แต่ละแห่งได้อีกด้วย

อันเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เรื่อง หลักเกณฑ์ เพื่อ

4สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ปัจจุบันมีเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เข้าร่วมดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แล้ว จำนวน 7,740 แห่งทั่วประเทศ ในการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน

รวมถึงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมของหน่วยงานดังกล่าว โดยการจัดสรรงบประมาณให้แก่ อปท. ตามจำนวนประชากรในพื้นที่ จำนวน 45 บาทต่อคน โดยมีกลไกของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นผู้พิจารณาแผนงานหรือโครงการ ซึ่งมีนายก อบต. หรือนายกเทศมนตรี เป็นประธาน และกรรมการจากภาคีเครือข่าย ด้านสุขภาพ และผู้แทนจากภาคประชาชนที่ประชาชนคัดเลือกกันเอง เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ

5

4. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของ อปท. โดย อปท. จะพัฒนาไปในทิศทางใด จำเป็นต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์หรือแผนงานในอนาคตและแปลงมาสู่การปฏิบัติ ดังนั้น ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงได้กำหนดให้แผนพัฒนาของ อปท. เป็นแผนพัฒนาระยะกลาง มีระยะเวลาห้าปี

ทั้งนี้ จะกำหนดวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์ สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด ยุทธศาสตร์การพัฒนาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาหมู่บ้านหรือแผนชุมชน อันมีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียดแผนงานโครงการพัฒนาที่จัดทำขึ้นสำหรับงบประมาณแต่ละปี