ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ผลการศึกษาด้านพฤติกรรมเนือยนิ่งและการมีกิจกรรมทางกายในประเทศไทย ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ The Lancet Regional Health - South East Asia 2022 ในหัวข้อ “The physical activity at work (PAW) study : A cluster randomized of trial of a multicomponent short-break intervention to reduce sitting time and increase physical activity among office workers in Thailand”

การวิจัยดังกล่าว เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มเต็มรูปแบบครั้งแรก (c-RCT – cluster randomized controlled trial) เพื่อประเมินมาตรการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งหลากหลายองค์ประกอบจากโปรแกรม Physical Activity at Work (PAW) เป็นระยะเวลา 6 เดือน

ทั้งนี้ พบว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอในการลดพฤติกรรมเนืองนิ่ง หรือมีการส่งเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นในกลุ่มผู้ร่วมวิจัยแต่อย่างใด

พฤติกรรมเนือยนิ่ง คือภาวะที่ร่างกายเคลื่อนไหวไม่เพียงพอ เช่น การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถือเป็นภัยด้านสุขภาพที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากมาย การทำงานออฟฟิศอาจเพิ่มระยะเวลาของพฤติกรรมเนือยนิ่งได้มาก

1

นักวิจัยทั่วโลกจึงพยายามสร้างมาตรการลดพฤติกรรมดังกล่าวในที่ทำงาน โดยในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มนักวิจัยจากหลายประเทศได้ช่วยกันสร้างมาตรการหลายองค์ประกอบขึ้น ได้แก่ การแจกนาฬิกาอัจฉริยะและการให้รางวัลประจำสัปดาห์ กิจกรรมขยับร่างกายระหว่างทำงานแบบกลุ่ม โปสเตอร์ให้ความรู้และแนะนำท่าขยับร่างกาย และข้อความให้กำลังใจและการสนับสนุนจากผู้บริหารหน่วยงาน

จากการศึกษาพบว่า ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอในการสรุปผลของมาตรการเหล่านี้ต่อการลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง หรือส่งผลให้สุขภาพดีขึ้นได้ โดยทีมผู้วิจัยจะวิเคราะห์กระบวนการเชิงลึกต่อไป และสนับสนุนให้ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จัดทำโครงการวิจัยในประเด็นนี้เพิ่มมากขึ้น

อนึ่ง อ่านบทความวิชาการ “The physical activity at work (PAW) syudy : A cluster randomized of trial of a multicomponent short-break intervention to reduce sitting time and increase physical activity among office workers in Thailand” ได้ที่ https://doi.org/10.1016/j.lansea.2022.100086

อ่านงานวิจัยเพิ่มเติมที่นี่ แจก ‘Smart Watch’ ไม่ช่วยลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง