ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เกือบ 2 ปีแล้ว ที่วิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ที่อยู่กับโลกของเรามาและส่งผลกระทบมากมาย ทั้งในแง่สุขภาพ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

โควิด-19 นำมาซึ่งความเจ็บป่วย การสูญเสีย หาความเอาแน่เอานอนในชีวิตได้ยาก โรคระบาดนี้เปลี่ยนวิถีชีวิตของเรา จากที่เคยไปไหนมาไหนก็ต้องลดการเดินทาง จากที่เคยพบเจอผู้คนก็ต้องเว้นระยะห่าง จากที่เคยมีงานทำก็อาจจะต้องเสียงานไปเพราะสถานการณ์บีบให้ธุรกิจต้องหยุดหรือปิดกิจการ

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเหล่านี้แหละ ที่ทำให้นอกจากปัญหาผู้ติดเชื้อแล้ว ยังมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาแบบที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย และเป็นปัญหาที่อาจจะส่งผลกระทบระยาวด้วย นั่นก็คือ “ปัญหาสุขภาพจิต

 

ความไม่มั่นคงของชีวิตและสุขภาพ นำมาซึ่งความไม่มั่นคงทางจิตใจ และยิ่งเป็นโรคระบาดที่เรายังมองไม่เห็นทางออกจริง ๆ ของมันซักทีว่าจะจบลงเมื่อไหร่ และคาดเดาไม่ได้ว่าวันไหนมันจะนำผลกระทบอะไรมาสู่เรา

บทความและงานวิจัยทั้งไทยและต่างประเทศชี้ให้เห็นตรงกันว่าโดยหลักใหญ่ใจความแล้ว สาเหตุที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตมีดังเช่น

1. ความหวาดกลัวต่อการติดเชื้อ: เพราะผู้คนไม่มีความแน่นอนเลยว่าวันใดจะติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ความหวาดกลัวนี้ส่งผลกระทบทางลบต่อจิตใจ ยิ่งไปกว่านั้นการที่ติดเชื้ออาจจะนำมาซึ่งผลกระทบอื่น ๆ ตามมา เช่นต้องจากครอบครัว อาจจะกลายเป็นผู้แพร่เชื้อ สูญเสียงานและรายได้ หวาดกลัวถูกสังคมรังเกียจ กลัวการเข้ารับการรักษา หรือแม้กระทั่งกลัวที่จะเสียชีวิต

2. สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา: ตัวเลขของผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น นโยบายรัฐที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต จากเคยมีชีวิตนอกบ้านก็ต้องอยู่บ้านคนเดียว ความเปลี่ยวเหงา การสูญเสีย ทั้งหมดนี้ทำร้ายสุขภาพจิตให้บอบช้ำได้ง่าย

3. ความไม่แน่นอนทางสถานะทางการเงิน: โควิด-19 นั้นนำมาซึ่งกรเปลี่ยนแปลงในเชิงเศรษฐกิจมหาศาล มีคนจำนวนมากต้องเสียงานและรายได้ มีคนจำนวนมากที่ยังถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง เงื่อนไขในการทำงานนั้นยากกขึ้น ทั้งหมดนี้จะส่งผลไปสู่สถานะทางการเงินของผู้คน และความไม่แน่นอนเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อไปถึงสุขภาพจิตที่ต้องกังวลว่าตนนั้นจะยังมี “เงิน” เพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้ไปถึงเมื่อไหร่

ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้ประกอบกัน กลายเป็นว่าผู้คนทั่วโลก ทุกทวีป ภาษา และเผ่าพันธุ์ กำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิตจากสาเหตุเดียวกัน และกำลังพัฒนาไปสู่อาการทางจิตหลากหลายประการ อาทิเช่น ภาวะซึมเศร้า เครียด ปัญหาสุขภาพการนอน ฯลฯ อีกมากมาย

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลียได้สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 2,555 ราย จาก 63 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีถึง 902 รายที่ถึงขั้นไม่สามารถทำแบบทดสอบได้สำเร็จ แต่จากกลุ่มตัวอย่างที่ทำแบบทดสอบสำเร็จกว่า 1,653 ราย พบว่า 59% นั้นมีภาวะความเครียดสูงถึงจุดที่ควรเข้ารับการรักษา 18% นั้นเข้ารับการรักษาอาการทางจิตแล้ว และจากทั้งหมด 73% นั้นมีปัญหาด้านการนอนหลับ  

ในขณะที่ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ หรือ CDC ก็รายงานเช่นเดียวกันว่า ประชากรสหรัฐในช่วงอายุระหว่าง 18 – 24 ปีนั้น กว่า 63% มีอาการหรือกำลังประสบปัญหาสุขภาพจิตอยู่ อันเป็นผลมาจากโรคระบาดโควิด-19

แน่นอนว่าทั้งหมดนี้ ประเทศไทยก็ไม่สามารถหนีพ้น ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่ส่งผลให้เกิดความเครียด หรือภาวะอาการซึมเศร้านั้นมีสูงขึ้นกว่าที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด และยังส่งผลต่อไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย

อย่างเช่นถ้าดูที่สถิติในกรุงเทพมหานคร ก็พบว่า 67.19% ของประชากรในกรุงเทพกำลังประสบกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า

ที่น่าตกใจไปกว่านั้น จากรายงานของกรมสุขภาพจิต ปัญหาทั้งหมดนั้นส่งผลให้สถิติการฆ่าตัวตายในช่วงเพิ่มสูงขึ้นกวา 11% ของปี 2562 – 2563 และช่วง 1 – 21 เมษายน 2563 มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 38 ราย และสำเร็จ 28 ราย ทั้งหมดนั้นมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับโควิด-19

และทั้งหมดนี้ ยังไม่ได้สำรวจตรวจสอบไปถึงผู้ที่ประสบกับภาวะความเครียดหรือซึมเศร้าก่อนหน้าการเริ่มต้นของวิกฤติโควิด-19 ว่าสุขภาพจิตได้รับผลกระทบมากมายขนาดไหน

นี่ยังมีอีกกลุ่มตัวอย่างที่ห้ามละเลยไป นั่นก็คือบุคคลากรด่านหน้าของระบบสาธารณะสุขไทย ที่กำลังเผชิญหน้ากับความเครียดและกดดันในการต่อสู้กับโรคระบาด มีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับสุขภาพจิตของเหล่านักรบชุดขาวว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่ถ้ามองไปนอกประเทศ จากสถิติที่ประเทศญี่ปุ่นก็พบว่า 30% ของบุคคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าในญี่ปุ่นกำลังประสบกับภาวะหมดไฟในการทำงานและมีอาการซึมเศร้า ดังนั้นแล้ว ด่านหน้าของไทยก็อาจจะไม่ต่างกัน และต้องได้รับการดูแล

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ จะเห็นได้ว่า โควิด-19 ไม่ได้นำมาพามาแค่ “ไข้หวัด” มาสู่พวกเราเท่านั้น แต่ผลกระทบของไข้หวัดนี้ยังมีมากกว่าสุขภาพกายอีกด้วย ปัญหาระยะยาวต่อจากนี้ไปคือการรักษาสุขภาพใจของคนไทยให้ “แข็งแรง” ต่อไปในการต่อสู้กับวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้ เพราะยังคงเป็นการเดินทางอีกยาวนาน กว่าที่เราจะเอาชนะโควิด-19 ได้

เพราะฉะนั้น การมีสุขภาพใจที่ดี คือสิ่งสำคัญ

และถ้าใครกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต เช่นอาการซึมเศร้า ก็สามารถที่จะใช้สิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 

อันประกอบด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ สิทธิประกันสังคม โดยสามารถเข้ารับการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชได้ทุกอาการ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ 

สามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่ 
สายด่วน สปสช. 1330
กรมบัญชีกลาง (ข้าราชการ) โทร. 02-127-7000
สายด่วนประกันสังคม 1506

อ้างอิง
https://www.forbes.com/sites/williamhaseltine/2021/04/13/young-people-hit-hardest-by-loneliness-and-depression-during-covid-19/?sh=56b6c58b5f0b
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/248514
https://www.nature.com/articles/d41586-021-00175-zbangkokhospital.com/content/psychiatric-guidance-on-stress-management-trading-covid-19
https://thaipublica.org/2021/06/pier-67/
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/245881
https://news.thaipbs.or.th/content/278351sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0278584620305522?via%3Dihub