ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สมาคมโรคไตฯ เผยคนไทยกินเค็มมากกว่าที่ควรถึง 2 เท่า โดยเฉพาะภาคใต้ ย้ำค่าใช้จ่ายล้างไตปีละ 2 แสน เพิ่มภาระระบบหลักประกันฯ เตือนเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จี้มาตรการแสดงฉลากสินค้า


รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เปิดเผยในกิจกรรมเนื่องในวันโรคไตโลก ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 ตอนหนึ่งว่า คนไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภคเค็ม โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีอัตราบริโภคสูงกว่าภาคอื่นๆ โดยพบว่าทั่วประเทศมีผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับการรับประทานเค็มมากถึงประมาณ 22 ล้านคน ซึ่งมาจากการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว รวมทั้งการกินยา อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังแล้ว หากต้องมีการล้างไตนั้นจะมีค่าใช้จ่ายอย่างน้อยปีละ 2 แสนบาท ขณะที่การต้องผ่าตัดเปลี่ยนไต ก็จะต้องทานยากดภูมิไปตลอดชีวิต ซึ่งจากสถานการณ์นี้เองได้ทำให้ค่าใช้จ่ายในการล้างไตของสิทธิหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ รวมกันแล้วเพิ่มขึ้นถึงกว่า 2 หมื่นล้านบาท

"ทั้งประเทศเรามีผู้ป่วยโรคไต 8 ล้านคน ความดันโลหิตสูง 13 ล้านคน โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต รวมทั้งสิ้น 25 ล้านคน รวมถึงผู้ป่วยเบาหวาน 5 ล้านคน ซึ่งแนวแนมโน้มในปัจจุบันผู้ป่วยโรคไตก็มีอายุเฉลี่ยน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากการบริโภคอาหารที่มีความเค็มสูง ทานอาหารสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบมากขึ้น" รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้ป้องกันได้ จากการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ลดบริโภคเค็ม ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ งดเหล้า บุหรี่ ใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันและชะลอความเสื่อมของไต ขณะที่ในส่วนของผู้ประกอบการอาหารทุกประเภท อาจต้องมีมาตรการเกี่ยวกับฉลากให้ชัดเจน แสดงปริมาณแคลอรีและโซเดียมให้เข้าใจง่ายขึ้น รวมถึงเครื่องปรุงต่างๆ ที่ต้องมีคำเตือน

"ในส่วนของภาครัฐเอง อาจต้องมีมาตรการรักษาสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงมากขึ้น เช่น ร่วมมือกับผู้ประกอบการอาหารลดใช้โซเดียม การรณรงค์สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน และมาตรการทางการคลังที่ช่วยให้อาหารสุขภาพ มีราคาถูกกว่าอาหารที่เป็นพิษต่อสุขภาพ เป็นต้น" นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ระบุ

รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลพบว่าคนไทยส่วนใหญ่บริโภคเกลือและโซเดียมเฉลี่ยประมาณ 3,600 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งมากเกิน 2 เท่าของปริมาณที่ร่างกายควรได้รับ และมากกว่าคำแนะนำขององค์การ