ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กรมอนามัย ขับเคลื่อน ‘คลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต’ หรือ Lifestyle Medicine Clinic แห่งแรกของภาคเหนือ Medicine เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัจจัยการเกิดโรครายบุคคล


พญ.อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วยผู้บริหารกรมอนามัย ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมขับเคลื่อนการดำเนินงาน “คลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต” หรือ Lifestyle Medicine Clinic แห่งแรกของภาคเหนือ เพื่อส่งเสริมประชาชนในพื้นที่ให้มีสุขภาพดี

4

พญ.อัจฉรา เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์  ซึ่งประเทศไทยมีผู้สูงอายุถึงร้อยละ 20.66 ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด พบว่ามากกว่าครึ่งมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง เป็นผลสืบเนื่องจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต 

1

ทั้งนี้ กรมอนามัยให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพบุคคลตามวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดการมีภาวะสุขภาพที่ดีและเกิดความยั่งยืน จึงได้ให้มีการดูแลสุขภาพด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ มุ่งเน้นให้ประชาชนมีความรู้ ทักษะในการดูแลตนเอง และครอบครัว ด้วยหลัก 

4

4

สำหรับเวชศาสตร์วิถีชีวิต หรือ Lifestyle Medicine เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัจจัยการเกิดโรครายบุคคล เหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวมี 6 องค์ประกอบหลัก คือ 1. การบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 2. การนอนหลับอย่างเพียงพอ 3. การจัดการ ความเครียดและอารมณ์ 4. การจัดการด้านความสัมพันธ์ 5. การจัดการบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด 6. การมีกิจกรรมทางกาย โดยผสมผสานและบูรณาการศาสตร์การรักษาต่าง ๆ มาวางแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวัน ลดปริมาณการใช้ยาที่ไม่จำเป็นลง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาสุขภาพอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้ผู้ป่วยเกิดแรงจูงใจและมีความสุขในการปรับเปลี่ยนฤติกรรมของตนเอง 

5

4

พญ.ศรินนา แสงอรุณ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ กล่าวว่า ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ เปิดให้บริการคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 มีการขับเคลื่อนงานพัฒนาระบบบริการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานและเป็น Wellness ประเภทสถานพยาบาลนำร่อง ระดับเขตสุขภาพที่ 3 ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ วางแผนการปรับพฤติกรรมเพื่อสุขภาพร่วมกันระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน เช่น นักโภชนาการวางแผนการรับประทานในแต่ละวันให้สอดคล้องกับกิจกรรมในวันนั้น ๆ การร่วมมือกับนักกายภาพบำบัดหรือเทรนเนอร์ในการจัดการออกกำลังกาย การใช้วิธีการบำบัดรักษาโดยแพทย์ทางเลือกมาใช้ หรือ Alternative Medicine  ในการกำจัดความเครียดด้วยการนั่งสมาธิ การเดินลมปราณ การจัดการการนอนหลับการจัดการน้ำหนักตัว และการลด ละ เลิก แอลกอฮอล์ บุหรี่ และสารเสพติดต่าง ๆ รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารสาระความรู้ให้กับประชาชนในเขตสุขภาพที่ 3 และระดับประเทศผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ที่ทำให้เข้าถึงประชาชนได้รวดเร็วขึ้น 

4