ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

‘หมอชลน่าน’ หารือร่วม ‘ทวี’ แก้ปัญหายาเสพติด เร่งดำเนินการ 3 ประเด็นสำคัญ ‘ค้นหาผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด-กำหนดปริมาณการครอบครองเพื่อเสพ-Quick Win ซึ่ง สธ. พร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ส่วนกัญชาได้มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อออกกฎหมายรองรับ ย้ำนโยบาย สธ. ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพเท่านั้น 


นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข (รมว.) เปิดเผยถึงการหารือกับ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม (ยธ.) และคณะ ในประเด็นความร่วมมือในการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2566 ว่า การแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่ง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะต้องลดยาเสพติดให้ได้ภายใน 1 ปี โดย สธ. เป็น 1 ใน 3 งานการป้องกันปราบปราม บำบัดรักษาฟื้นฟู 

ทั้งนี้ จากการหารือกับกระทรวงยุติธรรมมี 3 ประเด็นสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการและร่วมมือกัน ประเด็นแรก คือ การค้นหาผู้ที่เข้านิยามว่าผู้เสพคือผู้ป่วยที่จะต้องเข้าสู่การบำบัดรักษาและฟื้นฟู ซึ่งปัจจุบัน สธ. มีกระบวนการตามมาตรฐานอยู่แล้ว โดยคัดกรองผู้ป่วยเป็น 3 ระดับ คือ 1. สีแดง ใช้ต่อเนื่องเลิกไม่ได้ อาการรุนแรง 

2

2. สีเหลือง ใช้บ่อย อาการปานกลาง และ 3. สีเขียว ใช้น้อย ไม่มีอาการ โดยระดับสีแดงและสีเหลืองรวมประมาณ 4.59 แสนคน จะเข้ารับการบำบัดในสถานพยาบาล/โรงพยาบาล ส่วนกลุ่มสีเขียวประมาณ 1.46 ล้านคน จะให้การบำบัดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBTx) มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกัน เพื่อคืนคนสู่สังคมอย่างปลอดภัย ในส่วนกระทรวงยุติธรรม จะรับผิดชอบเรื่องงบประมาณ ซึ่งเป็นงบบูรณาการที่ใช้ในการบำบัดรักษาฟื้นฟูให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อไปว่า ประเด็นที่ 2 เรื่องการออกกฎกระทรวงฯ กำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ ที่ประชุมมีมติให้คณะทำงานที่เกี่ยวข้องไปหารือเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีหลักการและเหตุผลรองรับ ทั้งมิติเชิงสุขภาพ มิติเชิงสังคมมิติเชิงเศรษฐกิจ โดยให้เร่งดำเนินการเร็วที่สุด ส่วนประเด็นที่ 3 เป็นเรื่อง Quick Win ที่จะทำร่วมกัน โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศแล้วว่าใน 100 วัน จะจัดตั้ง 1 จังหวัด 1 

3

“มินิธัญญารักษ์ ส่วนของกระทรวงยุติธรรมที่จะมีการประกาศ สธ. พร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ สำหรับเรื่องกัญชาไม่ได้มีการหารือกัน แต่ได้ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปหารือกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เกี่ยวกับกฎหมายที่ออกมารองรับ สธ. มีนโยบายชัดเจนว่าให้ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพเท่านั้น 

“เรามองผู้เสพคือผู้ป่วย ไม่ว่าเสพกี่เม็ดก็ถือเป็นผู้ป่วยทั้งหมด และจัดเข้าสู่ระบบบำบัดฟื้นฟูตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ ส่วนเรื่องการครอบครองหากเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด จะถือว่าเป็นการครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งต้องได้รับโทษตามหลักประมวลกฎหมายยาเสพติด” นพ.ชลน่าน กล่าว