ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ชมรมนักวิชาการสาธารณสุข (ประเทศไทย) พร้อมด้วยตัวแทนภาคีเครือข่ายยื่นหนังสือผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 ขอความเป็นธรรมให้กับสายงานนักวิชาการสาธารณสุข/นักสาธารณสุขทั่วประเทศ


นายริซกี สาร๊ะ เลขาธิการชมรมนักวิชาการสาธารณสุข (ประเทศไทย) พร้อมด้วยตัวแทนภาคีเครือข่ายนักสาธารณสุขจากทั่วประเทศ เข้ายื่นหนังสือผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2566 ถึง พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความเป็นธรรมให้กับสายงานนักวิชาการสาธารณสุข/นักสาธารณสุขทั่วประเทศ

สำหรับหนังสือฉบับดังกล่าว มีเนื้อหาที่แสดงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานล่าช้าของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รวมทั้งสิ้น 4 ประเด็นสำคัญ จึงอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ ช่วยแก้ไขปัญหาด้วยการสั่งการ ก.พ. และ สธ. รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดพิจารณาให้ความเป็นธรรมแก่สายงานนักวิชาการสาธารณสุข/นักสาธารณสุข เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในสังกัด

1

2

ในส่วนของ 4 ประเด็นที่เรียกร้อง ประกอบด้วย 1. การพิจารณากำหนดตำแหน่งนักสาธารณสุขเป็นวิชาชีพเฉพาะ ของสำนักงาน ก.พ. มีความล่าช้า นับตั้งแต่มีมติ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 และมีหนังสือด่วนมาก ที่ สธ 0208.02/10653 ถึงเลขาธิการ ก.พ. ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 แต่ ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพ สาธารณสุขชุมชน เสียสิทธิจากความล่าช้าดังกล่าว

2. การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของหัวหน้างานสายงานนักวิชาการสาธารณสุข แบ่งเป็น (2.1) การเลื่อนระดับชำนาญการพิเศษในหัวหน้างานสายงานนักวิชาการสาธารณสุข

ของโรงพยาบาลชุมชนเพื่อความเป็นธรรม เนื่องจากในโรงพยาบาลชุมชนมีการเลื่อนระดับชำนาญการพิเศษ เฉพาะในในสายงานแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช พยาบาลเท่านั้น

2

2

ทว่าในหัวหน้างานสายงานนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (กลุ่มงานปฐมภูมิ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ งานหลักประกันสุขภาพ งานสุขศึกษา ฯลฯ) กลับถูกละเลย เลือกปฏิบัติ ทั้งที่มีคุณสมบัติครบ ในบางกรณีก็ต้องลงจากตำแหน่งหัวหน้างาน เนื่องจากเลื่อนระดับชำนาญการพิเศษให้สายงานอื่นที่เป็นลูกน้องแทน จึงควรคืนตำแหน่งหัวหน้างาน และเลื่อนระดับชำนาญการพิเศษให้บุคลากรสายงานนักวิชาการสาธารณสุขที่ถูกลงจากตำแหน่งอย่างไม่เป็นธรรมด้วย

(2.2) ควรเพิ่มกรอบโครงสร้างรองรับหัวหน้างานสายงานนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน เช่น กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม กลุ่มงานระบาดวิทยา ฯลฯ เพื่อเป็นเส้นทางความก้าวหน้าของสายงานนักวิชาการสาธารณสุข/นักวิชาการสาธารณสุข

2

3

3. การเร่งรัดจัดสรรอัตราบรรจุข้าราชการตั้งใหม่ที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด 19  แบ่งเป็นิ (3.1) จัดสรรอัตราบรรจุข้าราชการตั้งใหม่ที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด 19 จำนวน 63 สายงาน ตามมติ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564 (3.2) การบรรจุและเยียวยานักวิชาการสาธารณสุข ที่ยังตกค้างไม่ได้รับการบรรจุ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในปี 2563 จำนวน 647 อัตรา ทั้งที่เป็น 1 ใน 4 สายงาน (แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และนักวิชาการสาธารณสุข) มีการนำตำแหน่งที่ขอจัดสรรมาบรรจุสายงานนักวิชาการสาสธารณสุข ไปใช้ในกรณีอื่นๆ แทน ถือเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) นัดพิเศษ ในวันที่ 3 เมษายน 2563 และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563

4. การเลื่อนข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข สายงานต่างๆ ที่ได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นที่

ปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด 19 สู่ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข เป็นกรณีพิเศษ ตามมติ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564  โดยเฉพาะเจ้าพนักงานสาธารณสุขที่มีใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน ควรเร่งรัดดำเนินการเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อไป

วันเดียวกัน ผู้แทนชมรมนักวิชาการสาธารณสุข (ประเทศไทย) พร้อมด้วยตัวแทนภาคีเครือข่ายนักสาธารณสุขจากทั่วประเทศ ยังได้เข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมในประเด็นเดียวกัน พร้อมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อย่างพร้อมเพรียงกันทั่วประเทศ

2