ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ธนาคารโลก (World Bank) ได้ตีแผ่ “รายงานการติดตามผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ จากโควิด-19 ในประเทศไทย” โดยสะท้อนผ่าน “Gallup Poll” ที่ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุเกิน 18 ปี จำนวน 2,000 คน ตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย. - 15 มิ.ย. 2564

ครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่เรื่องการจ้างงาน แหล่งที่มาของรายได้ครัวเรือน การเข้าถึงและความมั่นคงทางอาหาร การคุ้มครองทางสังคมและกลไกการรับมือ การเข้าถึงการศึกษา การเข้าถึงบริการสุขภาพและวัคซีนป้องกันโควิด-19

“The Coverage” ได้สกัดประเด็นน่าสนใจในมิติทางสุขภาพ โดยเฉพาะการเข้าถึงบริการสุขภาพ และวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของประชาชนไทย ออกมาได้ดังนี้

ครัวเรือนไทยเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือทางการแพทย์

  • นับตั้งแต่มีนาคม 2563 มีมากกว่า 57% ของครัวเรือนไทย ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์
  • ในจำนวนนี้ มีมากกว่า 60% ที่เป็นครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ ภาคใต้
  • 32% ของครัวเรือนไทยที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ไม่สามารถที่จะเข้าถึงความช่วยเหลือทางการแพทย์ได้
  • ในจำนวนของครัวเรือนที่ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางการแพทย์ได้นั้น มีมากถึง 40% ที่เป็นครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ และอยู่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือ
  • สาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางการแพทย์ได้นั้น ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ 50% คือความหวาดกลัวต่อ Covid-19 และอีก 23% ขาดแคลนด้านการเงิน
  • สำหรับผู้ที่ขาดแคลนด้านการเงินนั้น มากกว่า 40% เป็นครัวเรือนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วัคซีนโควิด-19

  • นอกจากนี้ ยังพบว่าประมาณ 52% ของครัวเรือนทั้งหมดในประเทศไทย มีศูนย์ตรวจหาเชื้อ Covid-19 ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนของตนเอง
  • พื้นที่ที่ครอบคลุมมากที่สุดคือภาคกลาง ราว 58% ส่วนพื้นที่ที่ครอบคลุมน้อยที่สุดคือ กทม. ราว 32%
  • จากกลุ่มตัวอย่างที่ธนาคารโลกได้ทำการสำรวจ มีเพียงแค่ 16% เท่านั้นที่เคยได้รับการตรวจหาเชื้อ
  • พื้นที่ที่มีการตรวจหาเชื้อน้อยที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (9%) และมากที่สุดคือ กทม. (26%)
  • การตรวจกว่า 62% ของการตรวจ เป็นการตรวจด้วยวิธี Swab
  • 90% ของกลุ่มที่ธนาคารโลกได้ทำการสำรวจ รู้ว่าประเทศไทยมีวัคซีนให้ฉีด แต่มีเพียง 66% เท่านั้นที่รู้ว่าสามารถรับวัคซีนได้ที่ไหน
  • โดยเฉลี่ยแล้ว ข่าวสารเรื่องวัคซีนเข้าถึงผู้คนจากทางโทรทัศน์และหน่วยงานสาธารณสุข มากกว่า Social Media
  • กลุ่มอาชีพที่ได้รับวัคซีนมากที่สุดคือ กลุ่มอาชีพทางด้านสาธารสุขและบริการสังคม (38%) ส่วนกลุ่มที่ได้รับวัคซีนน้อยที่สุดคือกลุ่มแรงงานก่อสร้าง แรงงานอุตสาหกรรม และการค้าขาย (3%)
  • การไม่รับวีคซีน มีเหตุผลจากความกังวลต่อผลข้างเคียง 80% และจำนวน 10% คิดว่าตนเองไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • สัดส่วนความขาดแคลนระหว่างจำนวนประชากรใน กทม. กับจำนวนวัคซีนคือ 19%