ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

“มีบัตรประชาชนไหมครับ ?”
“มี!”
“มีโทรศัพท์ไหมครับ ?”
“มี!”

เสียงตอบรับกึกก้องจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และประชาชน
กว่าพันชีวิต ท่ามกลางเครื่องเสียงโหมกระหึ่ม และการลุกขึ้นโยกซ้าย-ขวา ประกอบจังหวะ โดยมีโทรศัพท์ถือในมือด้านขวา และบัตรประชาชนในมือด้านซ้าย

บรรยากาศความคึกคักอย่างสุดขั้วถูกแสดงออกจากบริเวณลานหน้าโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด ในช่วงเช้าของวันที่ 7 ม.ค. 2567 

นั่นเพราะวันนี้ถือเป็นวันแรกของการคิกออฟ “นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” ซึ่งจะมีทั้ง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข (สธ.) น.ส.แพรทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ คณะผู้บริหาร สธ. และคณะผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เดินทางมาตรวจเยี่ยมความพร้อมการดำเนินงาน ก่อนในช่วงเย็นจะมีการเปิดนโยบายอย่างเป็นทางการโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

น.ส.ชญาภา สินธุไพร สส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ขึ้นเวทีทักทายประชาชน พร้อมแจ้งความคืบหน้าว่า ขณะนี้สภาฯ ได้ลงมติรับหลักการ พ.ร.บ.งบประมาณ แล้ว แม้ว่ารัฐบาลจะมีเวลาน้อยในการจัดทำงบประมาณ แต่ก็สามารถจัดทำงบประมาณได้สอดคล้องและสอดรับกับนโยบายที่พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาและประชาชนได้ด้วยเพียง 114 วัน

“หลายนโยบายที่เราประกาศนำมาสู่การปฏิบัติจริงได้ในเวลาเพียง 3 เดือนเศษ โดยเฉพาะนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ดังนั้นแม้จะมีเวลาจำกัดในการดำเนินงานแต่ก็สามารถทำนโยบายได้สำเร็จตามที่แถลงไว้อย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงการเป็นรัฐบาลที่มีศักยภาพและความพร้อมในการทำงาน นี่คือรัฐบาลพรรคเพื่อไทย รัฐบาลนักบริหารมืออาชีพที่พร้อมรับใช้ประชาชน” น.ส.ชญาภา กล่าว 

น.ส.ชญาภา อธิบายเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่ จ.ร้อยเอ็ด ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 4 จังหวัดนำร่อง (แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส) เนื่องจากมีความพร้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลทั่วประเทศ และบุคลากรมีความพร้อมในการให้บริการ

4

สำหรับนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เป็นโยบายสําคัญ ของ สธ. และเป็นประเด็นที่ต้องขับเคลื่อนภายใน 100 วันแรก ให้เห็นเป็นรูปธรรมสําหรับพี่น้องประชาชน โดยวางภาพอนาคตระบบสาธารณสุข รูปแบบใหม่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ํา เพิ่มคุณภาพ เพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชน 

นโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพจากหน่วยบริการทุกระดับและทุกสังกัด อํานวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้ารับบริการทางการแพทย์และสุขภาพ พร้อมทั้งลดภาระการดําเนินงานของบุคลากร และเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการให้บริการทางการแพทย์และสุขภาพ
โดย “นําเทคโนโลยีดิจิทัล” ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบบริการ และ ระบบสนับสนุนการให้บริการ

จุดเด่นของนโยบาย คือจะมีการดําเนินการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของหน่วยบริการทุกระดับ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สมัครใจทั่วประเทศ ให้เป็นระบบเดียว และสามารถ ให้บริการสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล ควบคู่ไปกับการพัฒนาโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาล อัจฉริยะ โดยให้ความสําคัญกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของข้อมูลสุขภาพ

บัตรประชาชนใบเดียวนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพประชาชน ผ่าน Health ID บนมาตรฐานการพิสูจน์ตัวตนและยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (IAL และ AAL) อํานวยความ สะดวกให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนําไปใช้เป็นพื้นฐานในการเพิ่มประสิทธิภาพ การรองรับสถานการณ์สุขภาพของประชาชน ให้ผู้รับบริการเข้าถึงบริการในทุกพื้นที่ ทุกหน่วยบริการ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาลของรัฐ เอกชน รวมไปถึงคลินิก และร้านยา ใกล้บ้าน โดยถือว่า “บัตรประชาชน เปรียบเสมือนบัตรสุขภาพ” ของคนไทยทุกคน

จากนโยบายนี้ ประชาชนจะเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ง่าย สะดวกสบายยิ่งขึ้น ลดระยะเวลารอคอย โดยประชาชนสามารถนัดหมายเข้ารับบริการผ่านระบบออนไลน์ เข้ารับบริการการแพทย์และเภสัชกรรมทางไกลจากที่บ้าน เลือกรับยาทางไปรษณีย์ ร้านยาใกล้บเาน หรือใช้บริการ Health Rider เพื่ออํานวยความสะดวกในการรับยาและ เวชภัณฑ์ถึงบ้าน นอกจากนี้ สามารถรับบริการตรวจเลือด ที่ร้านแล็บใกล้บ้าน โดยไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าเดินทางมายังโรงพยาบาล  ลดภาระงานของบุคลากรที่ซ้ําซ้อน เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพแบบไร้รอยต่อ ผู้ให้การรักษาสามารถเรียกดูประวัติการรักษาออนไลน์ที่เชื่อมโยงข้อมูลการรักษาจาก ทุกหน่วยบริการที่ผู้ป่วยเคยเข้ารับการรักษาเพิ่มความถูกต้อง แม่นยํา ทันเวลา เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการดูแลรักษาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น

จากนโยบายนี้ ทําให้ระบบสาธารณสุขของไทยมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านสุขภาพของประเทศ สามารถยกระดับมาตรฐานการบริการด้วย AI พลิกโฉมระบบ สุขภาพไทยให้พัฒนาขึ้นไปอีกระดับ และมี Digital Health Platform หลักของประเทศ ที่ทันสมัย ก้าวสู่การเป็นผู้นําด้านสุขภาพ 1 ใน 3 ของเอเชีย

อนึ่งการขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว แบ่ง ออกเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 เริ่มเดือนมกราคม 2567 นําร่องใน 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส

ระยะที่ 2 เริ่มเดือนมีนาคม 2567 นําร่องใน 8 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ หนองบัวลําภู อํานาจเจริญ นครราชสีมา สิงห์บุรี สระแก้ว และพังงา

ระยะที่ 3 เริ่มเดือนเมษายน 2567 นําร่องใน 4 เขตสุขภาพ ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 1 เขตสุขภาพที่ 4 เขตสุขภาพที่ 9 และเขตสุขภาพที่ 12