ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ชมรม รพ.สต. ประเทศไทย ยื่นหนังสือถึง ‘หมอชลน่าน’ เสนอแก้ปัญถ่ายโอน รพ.สต.-พัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ 4 ด้าน ‘บริการบุคลากร-จัดบริการปฐมภูมิ-ความก้าวหน้า-ระเบียบกฎหมาย’ ในส่วนที่เป็นอำนาจ สธ. 


วันที่ 21 ก.ย. 2566 ชมรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ประเทศไทย) ได้เข้ายื่นหนังสือเรื่อง “ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมิทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ” ถึง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข (สธ.) 

สำหรับสาระสำคัญในหนังสือ ระบุว่า  ตามที่คณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) ได้มีประกาศ กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจ สอน. และ รพ. ให้แก่ อบจ. เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2564 และได้มีการถ่ายโอน รพ.สต. ไปจำนวน 3,263 แห่ง ให้ อบจ. 49 แห่งในปีงบประมาณ 2566 นั้น

ชมรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ประเทศไทย) ขอเสนอให้แก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการถ่ายโอนฯ ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของ สธ. 4 ประกอบด้วย 1. ด้านการบริหารจัดการบุคลากร และโครงสร้างอัตรากำลัง รพ.สต. โดยขอให้บุคลากรที่มีเลขประจำตำแหน่ง และปฏิบัติงานอยู่ใน รพ.สต. ถ่ายโอนให้ อยจ. ที่ยังไม่ได้สมัครใจถ่ายโอน ปฏิบัติงาน ณ รพ.สต.แห่งนั้น ไปพลางก่อน เป็นระยะเวลา 1-2 ปี

จนกว่า อบจ. รับถ่ายโอน จะได้รับงบประมาณเพื่อการสรรหาบุคลากรทดแทนกรอบอัตรากำลัง รพ.สต. S M L โดยให้สิทธิการเบิกจ่ายเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข. (พ.ต.ส.) และ ฉ.11 รวมถึงค่ารักษาพยาบาล ไปจนถึงค่าการศึกษาบุตรของข้าราชการผู้นั้น เบิกจากส่วนราชการต้นสังกัด โดยเริ่มตั้งแต่ปิงบประมาณ 2567

นอกจากนี้ ให้ สธ. ร่วมกับ สถาบันพระบรมราชชนก (สบช.) เร่งผลิตบุคลากรวิชาชีพ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ทันตสาธารณสุข เภสัชกรรม เพื่อป้อนระบบสุขภาพปฐมภูมี แก่ รพ.สต. ในสังกัด สธ. และ อบจ. รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. เข้าศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว หลักสูตรเวชปฏิบัติครอบครัว หรือหลักสูตรสาธารณสุขเวชศาสตร์ เพื่อการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562

อีกทั้งกำหนดมาตรฐานตำแหน่งใหม่ นักทันตสาธารณสุข และนักเภสัชกรรม โดยให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้น 2 ตามกฎหมายวิชาชีพทันตกรรม/เภสัชกรรม 2. ด้านการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยให้โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจำ (CUP) กับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดสนับสนุนระบบบริการด้านบุคลากร ด้านยาแลtเวซภัณฑ์ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน พ.ร.บ. ระบบหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. 2545 และ พ.ร.บ. ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562

ไม่เพียงเท่านั้นให้ สธ. สนับสนุนให้หน่วยบริการสาธารณสุข ในสังกัด อบจ. จัดขึ้นทะเบียนหน่วยบริการหลัก และหน่วยบริการปฐมภูมิได้ตามมาตรฐาน โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโรงพยาบาลให้เป็นภาระงบประมาณ รวมถึงพัฒนาโรงพยาบาลขุมชน ให้มีแพทย์เฉพาะทาง และวิสัญญีแพทย์ เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการผ่าตัดและทำคลอดบุตรให้แก่ประชาชนได้อย่างเต็มศักยภาพ และไม่ถูกฟ้องร้องละเมิด

3. ด้านความก้าวหน้าบุคลากร สิทธิสวัสดิการ ให้ สธ. เสนอขอสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แก้ไขปรับปรุงกฏ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินประจำตำแหน่ง โดยกำหนดเพิ่มให้ตำแหน่งนักสาธารณสุข ระดับชำนาญการ (ซี7) ขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง และให้ปรับปรุงกำหนดตำแหน่งข้าราชการนักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ผู้มีใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน เป็นตำแหน่งนักสาธารณสุขให้แล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย. 2567 เพื่อจะได้ทันการจัดทำคำของบประมาณเงินประจำตำแหน่งบรรจุในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

2

รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้อำนวยการ รพ.สต. ใน รพ.สต. ที่ร่วมเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCC) และ เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) มีสิทธิ์ได้แต่งตั้งเลื่อนระดับตำแหน่ง เป็นระดับชำนาญการพิเศษ (ซี8) และระดับอาวุโส (ซี7) และให้ข้าราชการในสังกัด สายงานวิชาการสามารถประเมินเลื่อนระดับตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการพิเศษ และข้าราชการสายงานทั่วไป สามารถประเมินเลื่อนระตับตำแหน่งเป็นระดับอาวุโส ได้ทุกตำแหน่ง เมื่อมีปริมาณงาน และคุณภาพงานในระดับนั้น เหมือนการเลื่อนของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

อีกทั้งลดขั้นตอน และรูปแบบการเสนอผลงานวิชาการ เพื่อการเสื่อนระดับตำแหน่งข้าราชการสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป เป็นการประเมินปริมาณงาน คุณภาพงาน และผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรได้ ตลอดจนปรับปรุงบัญชีค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุง และบัญชีค่าจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) ให้สอดคล้องกับอัตราค่าแรงในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

นอกจากนี้ ให้ส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุง และ พกส.ที่มีชื่อตำแหน่งตามกรอบโครงสร้างอัตรากำลังของหน่วยบริการ ได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการ 4. ด้านระเบียบกฎหมาย ขอให้เสนอคณะรัฐมมนตรี (ครม.) พิจารณาทบทวนมติ ก.พ. ในการคัดเลือกบรรจุลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการการระบาดของโรคโควิด-19 ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข ที่จัดจ้างในวุฒิปริญญาตรี และเยียวยาให้ได้สิทธิ์รับการคัดเลือกบรรจุกรณีพิเศษ ซึ่งมาตรฐานกำหนดตำแหน่งได้กำหนดให้ ก.พ. สามารถเทียบเคียงวุฒิที่สูงกว่าเป็นวุฒิที่สามารถบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งนั้นได้

มากไปกว่านั้น ให้ปรับปรุงระเบียบ สธ. ว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมืองพัทยา อบจ. มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2539 ให้สอคคล้องกับการใหบริการสุขภาพแก่ประชาชนของบุคลากรวิชาชีพในปัจจุบันiรวมทั้งปรับปรุงระเบียบว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัด สธ. ให้สามารถโอนเงินบำรุงให้แก่หน่วยบริการสาธารณสุข ในสังกัด อปท. ได้

เพราะเงินโอน สปสช. ประเภท HI / OPSI/ OOF / Free Schedule และเงินผลงานอื่นๆ ของ รพ.สต. ถ่ายโอน ยังค้างจ่ายอยู่ที่โรงพยาบาลแม่ข่าย ก่อนการถ่ายโอน และให้ยกฐานะสถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดน ชายขอบ ถิ่นทุรกันดาร ให้เป็น รพ.สต. อีกทั้งให้เร่งส่งมอบอาคาร สถานที่ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง รพ.สต. ถ่าย 

ตลอดจนเสนอ ครม. แก้ไขปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการพลเรือน ตามบัญชีแนบท้าย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2553 และแยกบัญชีข้าราชการตำแหน่งแพทย์ ทันตแพทย์เภสัชกร เป็นบัญชีแยกต่างหาก โดยให้มีอัตราบัญชีเงินเดือนใกล้เคียงข้าราชการตุลาการ ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน

123