ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เลขาฯ ชมรมนักวิชาการสาธารณสุขฯ ยื่นหนังสือถึง ‘สธ.-ก.พ.’ เสนอการบริหารบุคคล-สิทธิ-ความก้าวหน้า ‘บรรจุตำแหน่งชำนาญการพิเศษให้นักวิชาการสาธารณสุข และนักสาธารณสุข-ข้าราชการ โควิดรอบ 2 และตกค้างรอบแรก’


นายริซกี สาร๊ะ เลขาธิการชมรมนักวิชาการสาธารณสุข (ประเทศไทย) ได้ยื่นหนังสือถึง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. และ นายปิยวัฒน์ ศิวลักษณ์ เลขาธิการสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2566 เพื่อติดตามความก้าวหน้าของสายงานและวิชาชีพ ภายหลังจากมติ อ.ก.พ.วิสามัญบริหารทรัพยากรบุคคคล ก.พ. ล่าสุด ได้เห็นชอบให้เพิ่มระดับชำนาญการพิเศษ กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10,124 ตำแหน่ง เพียงส่วนเดียว โดยไม่ปรากฏรายละเอียดความก้าวหน้าของสายงานและวิชาชีพอื่นแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ทางชมรมนักวิชาการสาธารณสุขฯ จึงขอเสนอข้อเสนอในการบริหารบุคคล สิทธิและความก้าวหน้าของนักวิชาการสาธารณสุข และนักสาธารณสุข ใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1. การเลื่อนไหลสู่ตำแหน่งชำนาญการพิเศษโดยไม่ยุบเลิกตำแหน่ง ในสายงานนักวิชาการสาธารณสุข และนักสาธารณสุข ในสังกัด สธ. ทั่วประเทศ 

เพื่อให้เป็นไปตาม หนังสือ ที่ ส5 0208.10/ว 123 ลงวันที่ 11 ม.ค. 2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประเมินบุคคล การย้าย การโอน และการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิซาการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวซาญ ในสังกัด สป.สธ. และหนังสืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ครอบคลุมตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข และนักสาธารณสุข ที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ประมาณ 6,000 แห่ง ในสังกัด สธ. 

1

รวมถึงที่ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) ใน 787 อำเภอ และหัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้างานในโรงพยาบาลชุมชน หัวหน้ากลุ่มงานในโรงพยาบาลทั่วไป หัวหน้ากลุ่มงานในโรงพยาบาลศูนย์ หัวหน้ากลุ่มงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกแห่งเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ โดยไม่นำตำแหน่งว่างมายุบเลิก

ตลอดจนนักวิชาการสาธารณสุข และนักสาธารณสุขที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานระดับต่างๆ แพทย์และสาธารณสุข เช่น มีผลงานทีมีสมรรถนะสูงตาม ว.2 (วิจัย R&D) มีอายุราชการครบตามเกณฑ์ ของ สธ. มีวุฒิการศึกษาที่เพิ่มขึ้นในระคับปริญญาตรีขึ้นไป หรือมีคุณสมบัติอื่นที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ว 123 ให้เข้าสู่ตำแหน่งชำนาญการพิเศษได้ โดยไม่นำตำแหน่งว่างมายุบเลิก

2. การเลื่อนไหลสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยไม่ยุบเลิกตำแหน่ง ให้ข้าราชการพลเรือนชายแดนใต้ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ เพื่อให้เป็นไปตามหนังสือที่ นร 1006/ว7 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ กพ. ให้ปรับจากสายงานทั่วไป ระดับชำนาญงาน เป็นสายงานวิชาการระดับชำนาญการอย่างต่อเนื่อง สำหรับข้าราชการพลเรือนชายแดนใต้ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ ว 7 ชายแดนใต้(ครอบคลุมหลักเกณฑ์ ว 16 ชายแดนใต้เดิม) โดยไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบเลิก

รวมถึงบรรจุข้าราชการพลเรือนชายแดนใต้ระดับชำนาญการที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ ว.7 ชายแดนใต้ สู่ระดับชำนาญการพิเศษ ที่มีอายุราชการครบตามหลักเกณฑ์ ,มีวุฒิการศึกษาที่เพิ่มขึ้นในระคับบัณฑิตศึกษา หรือมีคุณสมบัติอื่นที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ โดยไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบเลิก

3. การจัดสรรอัตราข้าราชการใหม่ กรณีปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 การบรรจุโควิดรอบ 2 และกลุ่มตกค้างการบรรจุโควิดรอบแรก โดยขอทราบกรอบเวลา (timeline) และแนวทางในการบรรจุโควิดรอบ 2 ตามมติ อ.ก.พ.สธ. ที่เห็นชอบให้จัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ที่ปฏิบัติงานโควิด-19 เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2564 จำนวน 63 สายงาน รวม 37,144 คน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าที่ขัดเจน

ตลอดจนกรอบเวลาและแนวทางการบรรจุโควิดรอบแรกกลุ่มตกค้าง ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีมติให้บรรจุข้าราชการจากนักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาในปี 2563 จำนวน 4 สายงาน 7,579 อัตรา คือสายงานแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และนักวิซาการสาธารณสุข แต่ปัจจุบันพบว่า ยังมีสายงานนักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 647 อัตรา ซึ่งเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในปี 2563 ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาถูกละเว้นไม่ได้พิจารณาดำเนินการบรรจุแต่ประการใด และตำแหน่งว่างดังกล่าวอาจถูกนำไปใช้ในกรณีอื่นๆ แทน ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามมติ ครม. ดังกล่าว

2

4. ขอทราบกรอบเวลาและแนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะ และค่าตอบแทนของตำแหน่ง นักสาธารณสุข ตามมติ สำนักงาน ก.พ. วันที่ 15 พ.ค. 2566 ที่มีมติกำหนดตำแหน่งนักสาธารณสุข เป็นมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมในสายงานวิชาการ โดยให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งในระดับเดียวกัน จากตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ที่มีใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน สู่ตำแหน่งนักสาธารณสุข 

ตลอดจนปรับตำแหน่งและเกื้อกูลสายงานทั่วไป (จพ.) ที่มีใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน สู่สายงานวิชาการตำแหน่งนักสาธารณสุข รวมถึงประกาศตำแหน่ง นักสาธารณสุขในกฎ กพ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินประจำตำแหน่ง 2551 ให้ได้รับเงินเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายและทัดเทียมวิชาชีพอื่นๆ

รวมถึงการได้รับค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขของพนักงานราชการ (พ.ต.ส.) ของสายงานนักสาธารณสุข และการกำหนดให้สายงาน นักสาธารณสุข ถูกระบุในหลักเกณฑ์ ค่าตอบแทนฉบับต่างๆ (ฉ.5, ฉ.11 ค่าตอบแทนชายแดนใต้ ฯลฯ ) หรือการกำหนด ให้ สสอ. และสสจ. ถูกระบุในหลักเกณฑ์ค่าตอบแทน ฉ.11 เพื่อให้ได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์ และ 5. ให้ตั้งกองสาธารณสุขชุมชน ในสังกัด สธ. เพื่อดูแล รพ.สต. ประมาณ 6,000 แห่ง และนักสาธารณสุข ในหน่วยงานทุกระดับในสังกัด สธ.

อ่านหนังสือ ชมรมนักวิชาการสาธารณสุข (ประเทศไทย) เรื่อง ติดตามความก้าวหน้าของสายงานและวิชาชีพ