ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

“ไทย” ร่วมกับ 130 ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ลงนามในแถลงการณ์ ขอให้นานาประเทศตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรด้านสุขภาพ และให้การดูแลด้านสวัสดิภาพ ทั้งในระหว่างและหลังโรคระบาดโควิด-19

แถลงการณ์ดังกล่าวเผยแพร่ในวันที่ 22 มิ.ย. 2564 ระหว่างการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของสมาชิกสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาติ มาพร้อมการประกาศขององค์การอนามัยโลก ให้ปี 2564 เป็นปีแห่งบุคลากรด้านสุขภาพ

“ความตระหนักถึงคุณค่าของบุคลากรด้านสุขภาพ ไม่ควรให้เกิดขึ้นแค่ช่วงโรคระบาด แล้วจบไป” วอลคาน บอวเกอร์ (Volkan Bozkir) ประธานการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาติ ครังที่ 75 กล่าว

“ในทุกวัน มีพยาบาล ผู้ผดุงครรภ์ แพทย์ นักวิจัย นักเทคนิคการแพทย์ฉุกเฉิน และคนที่ทำหน้าที่ในด้านอื่นๆ ที่ทำงานเพื่อให้เรามีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะด้านการป้องกันหรือรักษาโรค ระบบสุขภาพทั้งหมดของเรา สร้างขึ้นบนบ่าของพวกเขา ผู้ซึ่งทำงานอย่างไม่เกรงกลัวความเหนื่อยล้า”

คำแถลงการณ์เสนอโดยตัวแทนจากประเทศบราซิล จอร์เจีย ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ ไทย และตุรกี และได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ

ส่วนหนึ่งของถ้อยคำแถลงระบุว่า “เรารับรู้ถึงความพยายามอย่างหนักของบุคลการด้านสุขภาพ ในการทำงานเพื่อสู้กับโรคโควิด-19 ภายใต้มาตรการต่างๆที่ใช้ปกป้องประชาชน สร้างความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดี ให้กับผู้คนที่เผชิญโรคระบาด
เราจึงอยากแสดงการสนับสนุน ด้วยการเน้นย้ำความสำคัญของการมีอยู่ของพวกเขา และปกป้องพวกเขาให้ปลอดภัย”

พร้อมกันนี้ ขอให้ทุกประเทศดูแลบุคลากรด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เฉพาะช่วงโรคระบาดในตอนนี้ และให้พวกเขาเขาถึงวัคซีนเป็นกลุ่มแรกๆ

ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวในระหว่างการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของสมาชิกสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาติว่า มีบุคลากรด้านสุขภาพอย่างน้อย 115,000 คน ที่อาจสูญเสียชีวิตที่มีคุณภาพในระหว่างโรคระบาด

ทั้งจากการการติดโรคโควิด-19 ภาวะความเครียด ความกังวล ความเหนื่อยล้า หรือภาวะหมดไฟที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน  

การให้สวัสดิภาพที่ดี ค่าแรงที่เป็นธรรมและสมน้ำสมเนื้อจึงมีความสำคัญ และต้องให้โอกาสบุคลากรด้านสุขภาพเข้าถึงช่องทางการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ สามารถเติบโตทางสายงาน และมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย

แถลงการณ์ยังระบุความกังวลต่อปัญหาบุคลากรด้านสุขภาพขาดแคลนในประเทศกำลังพัฒนา จึงขอให้ทุกประเทศผลักดันการลงทุนด้านบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพในแผนฟื้นฟูหลังโรคระบาด และให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goal 2030) ในด้านตัวชี้วัดทางสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากร
 
อ้างอิง
https://www.who.int/campaigns/annual-theme/year-of-health-and-care-workers-2021
https://www.un.org/pga/75/wp-content/uploads/sites/100/2021/06/PGA-letter-informal-meeting-on-launch-of-International-Year-of-Health-and-Care-Workers.pdf