ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

แม้ปัจจุบันไทยเราจะยังไม่มี “ศูนย์บริหารยาขาดคราวและขาดแคลน” ที่จะมีบทบาทในการ ทำนายสถานการณ์ของโรคและติดตามสถานการณ์ทรัพยากรยาที่มีอยู่ในประเทศในขณะนั้นๆ ได้ ตัวอย่างเช่น หากรู้ว่าโรคไข้หวัดใหญ่กำลังระบาด ก็จะได้ทราบว่ามียาตัวใดที่เกี่ยวข้องกับการรักษา และขณะนั้นมียาดังกล่าวเพียงพอหรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนจัดหายาให้เพียงพอ  

แต่หากต้องการเช็กว่ายาตัวไหนกำลัง “ขาดคราวหรือขาดแคลน” รวมถึงสถานะภาพรวมของยาในประเทศ สามารถดูได้ที่ “เว็บไซต์กองนโยบายแห่งชาติด้านยา ผ่าน “รายงานยาขาดแคลน” และ “ระบบสืบค้นรายการยาที่มี่ปัญหาขาดแคลน” ที่ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดทำขึ้น

ภายหลังได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยขอความร่วมมือสถานพยาบาล ซึ่งเป็นผู้ใช้ยาและบิรษัทยาทั้งผู้ผลิต และผู้นำเข้า ในการแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยาให้กับกองนโยบายแห่งชาติด้านยา อันเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ตลอดจนติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ

ทั้งนี้ เนื้อหาจะประกอบไปด้วย 1. ตัวยา/รูปแบบ 2. สถานะยาในภาพรวมของประเทศ 3. ข้อมูลผลิตภัณฑ์ 4. ปัญหาที่พบ 5. สถานการณ์ล่าสุด (ยาพร้อมจำหน่าย/ระยะเวลาที่คาดว่าจะกลับมาจำหน่ายได้ของแต่ละบริษัท) พร้อม วัน/เดือน/ปี ที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด

อย่างไรก็ดี รายการยาที่มีปัญหา “ขาดแคลน” ในที่นี้ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณการจัดหา ไม่เพียงพอต่อความการใช้ยา และไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ 

สำหรับสาเหตุการขาดแคลนที่แสดงผล ได้แก่ 1. ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP 2. ขาดแคลนวัตถุกิบทางยา 3. บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า 4. การขนส่งสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด 5. ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น 6. เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด และ 7. อื่นๆ  โดยสามารถเช็กได้เลยที่ : รายงานยาขาดแคลน (google.com)

 

1

1

4

1

1