ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลเผยให้เห็นว่า มีผู้หญิงไทยเพียง 28.5% ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 ซึ่งเป็นระยะที่มีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด

ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการต่อสู้กับมะเร็งปากมดลูก บริษัท บีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics) ได้เผยแพร่รายงานความตระหนักรู้มะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย (State of Cervical Cancer Awareness Report in Thailand)

 รายงานฉบับนี้ได้ประเมินระดับความรู้ ทัศนคติ และแนวปฏิบัติในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการฉีดวัคซีน HPV เพื่อแสดงให้เห็นถึงอุปสรรคและโอกาสที่เกี่ยวข้อง โดยทำการสำรวจผู้หญิง 1,878 คน จาก 6 ประเทศและภูมิภาค ได้แก่ บราซิล จีนแผ่นดินใหญ่ ซาอุดีอาระเบีย เซอร์เบีย อุรุกวัย และไทย

ผลสำรวจพบว่า มีหญิงไทยเพียง 18.8% ที่ไม่เคยผ่านการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมาก่อน นับว่าดีที่สุดใน 6 ประเทศที่มีการสำรวจ และดีกว่าค่าเฉลี่ยในการสำรวจครั้งนี้ซึ่งอยู่ที่ 31.2% อย่างมาก ทว่า 61.6% ของหญิงไทยอายุ 21-25 ปี กลับไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 

เนื่องจากไม่อยากให้แพทย์ผู้ชายทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์ (Pap Smear) โดยสูงสุดเป็นอันดับสองในการสำรวจครั้งนี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องนำเสนอทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีดังกล่าวให้กับผู้หญิง เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA 

นอกจากนี้ ความตระหนักรู้เกี่ยวกับเชื้อ HPV ยังส่งผลต่ออัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่ทราบว่ามะเร็งปากมดลูกมักเกิดจากเชื้อ HPV นั้น พบว่า 39.1% ไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 31.2%

อีกทั้ง การฉีดวัคซีนและการตรวจคัดกรองส่งเสริมซึ่งกันและกัน ในกลุ่มผู้หญิงที่ได้รับวัคซีน HPV นั้น 82.1% เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเช่นกัน ส่วนในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนนั้น มีเพียง 60.6% ที่เข้ารับการตรวจคัดกรอง ขณะเดียวกัน ในกลุ่มผู้หญิงที่ผ่านการตรวจคัดกรองนั้น 45.8% ได้รับวัคซีน HPV ด้วยเช่นกัน ส่วนในกลุ่มที่ไม่ได้ตรวจคัดกรองนั้น มีเพียง 22.1% ที่ได้รับวัคซีน ฉะนั้นการแจ้งให้ผู้หญิงทราบถึงสถานที่และเวลาที่สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนและตรวจคัดกรองได้นั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

“การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่เนิ่นๆ มีความสำคัญต่อการช่วยชีวิตและกำจัดโรคที่น่ากลัวนี้ให้หมดไปในที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับโลกขององค์การอนามัยโลก

“การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มความตระหนักรู้ของผู้หญิงอาจเป็นจุดเชื่อมโยงที่ขาดหายไปในการเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก” จาง หลิน (Zhang Lin) ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท บีจีไอ จีโนมิกส์ กล่าว