ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุการเสียชีวิต 2 ใน 3 ของประชากรไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา

ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งของสถานการณ์ เป็นเพราะการจัดบริการคัดกรองไม่ทั่วถึง ประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริหาร ตลอดจนการขาดองค์ความรู้ในการจัดการตนเอง

ปัจจุบัน มีการใช้นวัตกรรมการให้บริการคัดกรอง-ติดตามภาวะความดัน และน้ำตาลในเลือด นอกสถานพยาบาลด้วย Application เพื่ออำนวยความสะดวก และง่ายต่อการเข้าถึง

ล่าสุด กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดทำ แนวทางการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health station) ในชุมชน ขึ้น เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขหรือผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของพื้นที่ และเครือข่ายที่รับผิดชอบ

สำหรับสถานีสุขภาพดิจิทัล เป็นสถานที่สำหรับให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง และเป็นช่องทางในการสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพผ่าน Platform Digital

กำหนด “พื้นที่เป้าหมาย” คือ หมู่บ้านหรือที่ชุมชน 1 อำเภอต่อจังหวัดต่อเขตสุขภาพ เพื่อจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัลต้นแบบในหมู่บ้านหรือที่ชุมชน

การจัดทำแนวทางฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบสุขภาพดิจิทัลสำหรับเพิ่มสมรรถนะประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองของประชาชน เพื่อจัดให้มีสถานีสุขภาพดิจิทัลต้นแบบในหมู่บ้านหรือที่ชุมชน และเพื่อสนับสนุนแนวทางและรูปแบบสถานีสุขภาพดิจิทัล

อนึ่ง สามารถอ่านแนวทางการพัฒนาการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัลเพิ่มเติมได้ที่นี่