ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 9 ฉบับที่ 5 (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2564) ตีพิมพ์งานวิจัยเรื่อง “สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย” (Health Literacy Situation Of Monks in Thai Society) โดยระบุว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ

ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้เก็บตัวอย่างและพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 65% มีภาวะโภชนาการเกิน และเมื่อใช้แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพฉบับภาษาไทย (THLA-N) พบว่า มีกลุ่มตัวอย่างที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพียงพอ เพียง 21.2% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

สำหรับภาวะโภชนาเกินอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง ฯลฯ

ในส่วนของสถานการณ์สุขภาพพระสงฆ์ ข้อมูลจากรายงานของโรงพยาบาลสงฆ์ ปี 2563 ระบุถึงโรค 5 อันดับแรกที่ภิกษุ - สามเณรอาพาธ แบ่งเป็น 1. แผนกผู้ป่วยนอก ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง โรคเข่าเสื่อม 2. แผนกผู้ป่วยใน ได้แก่ โรคต้อกระจก โรคต่อมลูกหมาก โรคเบาหวาน โรคท้องร่วง โรคไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ

อนึ่ง ข้อมูลจากกรมอนามัย พบว่าพระสงฆ์ส่วนใหญ่มีปัญหาทางสุขภาพ โดยเฉพาะการติดต่อด้วยโรคไม่เรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด และภาวะไขมันในเลือดสูง