ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เมื่อช่วงต้นปี 2567 กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออก แนวทางการให้บริการวัคซีนโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) สำหรับสถานการณ์วัคซีนขาดคราว ประจำปีงบประมาณ 2567’ ออกมา

ปัญหาการขาดคราวของวัคซีนดังกล่าว เป็นเพราะผู้ผลิตมีกำลังการผลิตวัคซีน MMR ไม่เพียงพอ ทั่วโลกจึงได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

สำหรับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน ในเด็ก ใช้ใช้ตามแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยในปี 2567 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แก้ไขปัญหาด้วยการปรับแผนการจัดหาวัคซีน โดยจัดหาเป็น ‘2 ชนิดสายพันธุ์’ รวม 1,419,100 โดส แบ่งเป็น 1. สายพันธุ์ Jeryl Lynn จำนวน 1,019,100 โดส และ 2. สายพันธุ์ L-Zagreb จำนวน 400,000 โดส

คาดว่า จะได้รับมอบวัคซีนสายพันธุ์ L-Zagreb ในเดือน มี.ค. 2567 นี้

เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การจัดหาวัคซีน กรมควบคุมโรค จึงได้จัดทำแนวทางฯ ฉบับนี้ขึ้นมา

ในการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 ที่ประชุมมีมติปรับคำแนะนำการให้วัคซีน MMR ในสถานการณ์วัคซีนขาดคราว ปีงบประมาณ 2567 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 ก.ย. 2567

ได้แก่    MMR เข็มที่ 1 แนะนำที่อายุ 9 – 12 เดือน

MMR เข็มที่ 2 แนะนำที่อายุ 1 ปี 6 เดือน

ทั้งนี้ สามารถใช้วัคซีน MMR ที่ผลิตจากเชื้อคางทูมสายพันธุ์ L-Zagreb แทนวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อ คางทูมสายพันธุ์ Jeryl Lynn ในช่วงวัคซีนขาดคราว โดยพิจารณาจากสถานการณ์การระบาดของโรค ในพื้นที่ จำนวนวัคซีนคงคลังของพื้นที่ และจำนวนกลุ่มเป้าหมาย

อย่างไรก็ดี ขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ดำเนินการเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีน MMR สายพันธุ์ L-Zagreb ตามแนวทางของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค อย่างเคร่งครัด และขอให้หน่วยบริการบันทึกข้อมูลการให้บริการวัคซีน MMR ในระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (HDC)

ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.พ. 2567 กรมควบคุมโรค ได้จัดทำ คำแนะนำการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV) จำนวน 2 เข็ม (กรณีวัคซีนขาดคราว)’ ออกมา

เช่นเดียวกัน คือวัคซีน IPV สุ่มเสี่ยงต่อการขาดคราว เนื่องจากหน่วยบริการมีความต้องการเป็นจำนวนมาก

สธ. ได้มีคำแนะนาการให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ สูตร 2 IPV + 3 OPV

การให้วัคซีน IPV จำนวน 2 ครั้ง ในเด็กอายุ 2 เดือน และ 4 เดือน

การให้วัคซีน ป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน (OPV) จำนวน 3 ครั้ง ในเด็กอายุ 6 เดือน, 1 ปี 6 เดือน และ 4 ปี

ทั้งหมดเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโปลิโอให้ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ และลดผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนป้องกัน โรคโปลิโอชนิดรับประทาน

สธ. เริ่มดาเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2566 เป็นต้นมา เป็นผลให้หน่วยบริการมีความต้องการวัคซีน IPV เพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เกิดการขาดคราวของวัคซีน IPV

สำหรับคำแนะนำ เป็นไปตามตารางด้านล่างนี้

4

สำหรับการบริหารจัดการวัคซีน กรณีที่หน่วยบริการไม่มีวัคซีน IPV สำหรับให้บริการร (วัคซีนขาดคราว) ในกรณีหน่วยบริการในพื้นที่มีวัคซีน IPV ไม่เพียงพอ หรือ ไม่มีวัคซีน IPV สำหรับให้บริการ เนื่องจาก วัคซีนขาดคราว ขอความร่วมมือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) บริหารจัดการวัคซีน IPV ที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนมากที่สุดและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เช่น การยืมวัคซีนจากหน่วยบริการในพื้นที่หรือใกล้เคียง และหากหน่วยบริการมีวัคซีน IPV เพียงพอแล้ว ขอให้คืนวัคซีนที่ยืมให้กับหน่วยบริการที่ให้ยืม วัคซีน IPV ต่อไป

 

อ่านรายละเอียดได้ที่

แนวทางการให้บริการวัคซีนโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) สำหรับสถานการณ์วัคซีนขาดคราว ประจำปีงบประมาณ 2567 https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1530620240205044108.pdf

1

คำแนะนำการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV) จำนวน 2 เข็ม (กรณีวัคซีนขาดคราว https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1532220240207051406.pdf

2