ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ผอ.รพ.ราชวิถี เผย 3 เดือนเดินหน้าโครงการ Virtual Hospital พบผู้ป่วยใช้บริการเพิ่มขึ้น เฉลี่ยวันละ 60-80 ราย เตรียมทำเป็นองค์กรต้นแบบ ส่งต่อตัวอย่างให้เขตสุขภาพอื่นได้ทำตาม 


นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถีเปิดเผยกับ The Coverage ตอนหนึ่ง ว่า หลังจากโรงพยาบาลราชวิถี จัดบริการสุขภาพรูปแบบใหม่ 'โรงพยาบาล (ราชวิถี) ที่บ้าน' หรือ Rajavithi Virtual Hospital เพื่อให้บริการกับผู้ป่วยที่ต้องการพบแพทย์แต่ไม่ต้องการมายังโรงพยาบาล โดยปรึกษากันผ่านระบบการแพทย์ทางไกล หรือ Telemadicine (เทเลเมดิซีน) จากแอปพลิเคชั่น DMS Telemedicine โดยพบว่าตั้งแต่เปิดบริการมาเมื่อเดือน ต.ค.2566 ที่ผ่านมา ขณะนี้ประชาชน ผู้ป่วยเริ่มรับรู้ และมีการลงทะเบียนเพื่อใช้พบแพทย์ผ่านระบบเทเลเมดิซีน เพื่อใช้บริการมากขึ้น 

ทั้งนี้ จากข้อมูลตั้งแต่เปิดบริการถึงวันที่ 12 ม.ค. 2567 มีผู้ป่วยใช้บริการ โรงพยาบาล (ราชวิถี) ที่บ้าน รวมจำนวน 1,786 คน และมีนแนวโน้มการใช้บริการที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และเชื่อว่าในอนาคตจะช่วย

"จากเดือน ต.ค. 2566 ที่เราโรงพยาบาลราชวิถีเปิดให้บริการ Rajavithi Virtual Hospital มีคนไข้ใช้บริการไป 21 คน เดือน พ.ย.2566 ตัวเลขคนใข้รับบริการก็เพิ่มขึ้นเป็น 565 คน และเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา คนไข้เลือกใช้บริการสูงที่สุดถึง 765 คน และมาถึงเดือน ม.ค.2567 ข้อมูลถึงวันที่ 12 ม.ค. ก็พบว่ามีคนไข้มาใช้บริการแล้วถึง 435 คน เฉลี่ยแล้วแต่ละวันจะมีผู้ป่วยมาใช้บริการ Virtual Hospital วันละ 60-80 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม" ผอ.โรงพยาบาลราชวิถี กล่าว 

4

นพ.จินดา กล่าวด้วยว่า บริการโรงพยาบาล (ราชวิถี) ที่บ้าน' หรือ Rajavithi Virtual Hospital จะมีบริการพบแพทย์ที่บ้าน รวมไปถึงบริการรักษาผู้ป่วยที่บ้าน หรือ Home ward และยังให้บริการเจาะเลือดที่บ้านหรือคลินิกใกล้บ้าน 

ขณะเดียวกัน หากผู้ป่วยต้องได้รับยา ก็จะมีการส่งยาไปที่บ้านให้เลยผ่านไรเดอร์ หรือทางไปรษณีย์ ทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกอย่างมาก ในการรับบริการ โดยเฉพาะการลดค่าใช้จ่ายการเดินทางไปโรงพยาบาล ลดควาแออัดในโรงพยาบาล และยังเป็นการลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อจะได้ไปโฟกัสในการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่จำเป็นจริงๆ 

"เงื่อนไขการเข้ารับบริการ ต้องเป็นผู้ป่วยที่มีอาการคงที่ ไม่เร่งด่วน รวมถึงไม่มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงผู้ป่วยสามารถติดตั้งแอปพลิเคชั่นที่ชื่อว่า DMS Telemedicine ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ซึ่งเป็นทั้งคนไข้เก่า หรือคนไข้ใหม่ที่ไม่เคยมารับบริการที่โรงพยาบาลราชวิถีเลยก็่ทำได้ 

จากนั้นกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบสิทธิ โดยหากเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง สิทธิบัตร 30 บาท เมื่อลงทะเบียนและรับบริการแล้วก็ไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนผู้ป่วยในกองทุนอื่นๆ ก็จะมีระบบการจ่ายเงินออนไลน์รองรับ ซึ่งระบบนี้ สามารถใช้กับผู้ป่วยเก่าและผู้ป่วยใหม่ของโรงพยาบาลราชวิถีได้เลย" นพ.จินดา กล่าว

นพ.จินดา กล่าวด้วยว่า โรงพยาบาลราชวิถีมีเป้าหมายดำเนินโครงการ Virtual Hospital เพื่อให้เป็นองค์กรต้นแบบให้กับหน่วยบริการอื่นๆ ในแต่ละเขตสุขภาพได้นำไปขับเคลื่อนตาม โดยโรงพยาบาลราชวิถีก็จะออกไปแลกเปลี่ยนและอบรมแนวทางกับหน่วยบริการ สถานพยาบาลที่สนใจ เพื่อให้เอารูปแบบ Virtual Hospital แบบที่โรงพยาบาลราชวิถีทำ ไปปรับใช้กับพื้นที่เพื่อให้บริการกับประชาชน