ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

‘หมอชลน่าน’ เผย เตรียมประชุม 25 ธ.ค. นี้ จัดทำแผนส่งเสริมการเกิดเสนอเป็นวาระแห่งชาติ ดูแลครบทุกมิติทั้งสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ พร้อมฝาก อสม. ช่วยสื่อสารเปลี่ยนทัศนคติ “การเกิดคือการให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด” 


วันที่ 6 ธ.ค. 2566 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย พญ.นวลสกุล บำรุงพงษ์ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรี รมว.สาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. และคณะผู้บริหาร ได้ลงพื้นที่ไปยังสถานีรถไฟบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อพบปะให้กำลังใจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จ.พระนครศรีอยุธยา ภายหลังประชุมสัญจรผู้บริหารระดับสูง สฑ. ขับเคลื่อนการส่งเสริม เพิ่มเด็กไทยเกิดดีมีคุณภาพ Give Birth Great World 

4

นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 23 ประเทศ ที่มีอัตราการเกิดน้อยกว่าอัตราการตาย และประสบปัญหาเด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ หากไม่เร่งแก้ไขตัังแต่ตอนนี้ ในอนาคต 60 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะประสบปัญหาเรื่องการสร้างเศรษฐกิจ เนื่องจากจะมีประชากรลดลงเหลือ 33 ล้านคน ในจำนวนนี้จะมีวัยทำงานเพียง 14 ล้านคน 

1

ดังนั้นต้องช่วยกันเพิ่มการเกิดที่ดีมีคุณภาพ ส่งเสริมให้คนที่ต้องการมีบุตรได้มีบุตร โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มองว่าการมีบุตรกระทบต่อวิถีชีวิตและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของตนเอง สำหรับการใช้ปลาตะเพียนเป็นสัญลักษณ์ในการรณรงค์ เนื่องจากวัฒนธรรมไทยแต่โบราณมีการใช้ปลาตะเพียนสานเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยผูกไว้เหนือเปลให้เด็กได้เคลื่อนไหวสายตาและการสัมผัส อีกทั้งปลาตะเพียนยังเป็นสัญลักษณ์ของสัตว์ที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำด้วย

4

นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า สำหรับการส่งเสริมการมีบุตรนั้น จะขับเคลื่อนเป็นวาระแห่งชาติ โดยรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะให้สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคนในประเทศ เพื่อรักษาอัตราการเจริญพันธุ์รวมไม่ให้ลดลงเร็วจนเกินไป โดย สธ. ได้ตั้งคณะกรรมการที่มี อธิบดีกรมอนามัย เป็นประธาน ทำงานร่วมกับคณะกรรมการอนามัยเจริญพันธุ์ ที่มาจากหลายหน่วยงาน หลายกระทรวง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นอาทิ ซึ่งจะมีการประชุมวันที่ 25 ธ.ค. นี้ เพื่อยกร่างแผนส่งเสริมการเกิดให้เป็นวาระแห่งชาติ ว่าลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กเกิดมามีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับ และทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมอย่างไร 

4

“คนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ถือเป็นบุคคลสำคัญที่เราต้องดูแล ตั้งแต่ก่อนแต่งงานดูความพร้อมทางสุขภาพ หลังแต่งงานดูแลให้มีลูก ขณะตั้งครรภ์ ดูแลสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์จนถึงคลอด ตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม 40 โรค ส่วนมิติอื่นๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ ก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมการรับผิดชอบ นอกจากนี้ ยังได้ฝากให้ อสม. ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับชุมชนช่วยสื่อสารให้คนเห็นความสำคัญของการมีบุตร และปรับมุมมองใหม่ว่า การเกิดเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ของโลก” นพ.ชลน่าน กล่าว 

5