ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

คำพูดที่แสดงออกถึงความรุนแรง ความโมโหร้าย มักนำไปสู่พฤติกรรมที่รุนแรงตามมา ซึ่งนักวิจัยต่างประเทศจำกัดความว่า 'อารมณ์ของความโกรธ'

ความโกรธ เป็นอารมณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกายของมนุษย์ มีผลต่อการตัดสินจากคนภายนอก และต่อตัวเอง 

แม้ว่าหลายคนอาจถูกปลูกฝังว่า ‘ความโกรธ’ เป็นของต้องห้าม เป็นปฏิปักษ์ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย จิตใจ 

อย่างไรก็ตาม ในมุมของนักวิจัย เรากลับต้องการความโกรธเพื่อการดำรงชีวิตเหมือนกัน 

ดร.เบรตต์ ฟอร์ด (Dr.Brett Ford) รองศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศแคนาดา ให้ความเห็นว่า ประสบการณ์ของผู้คนมักมองว่าความโกรธคือเรื่องแย่ๆ เป็นอุปสรรคใหญ่ทางด้านอารมณ์ของการใช้ชีวิต 

แต่ทว่า ความโกรธในอีกมุมจะมีประโยชน์มาก หากเราสามารถฝึกฝนที่จะบีบรัดมัน หรืออัดอั้นมันเอาไว้ได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนพลังนั้นเป็นการแสดงออกในมุมบวกได้ 

2

นักจิตวิทยา เพศหญิงมักจะควบคุมอารมณ์โกรธได้ดี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันทางสังคม วัฒนธรรม และพวกเขาอัดเต็มไปด้วยความโกรธ แต่ก็รู้จักระงับความโกรธนั้นด้วยการห้ามปรามภายในตัวเองเพื่อลดอารมณ์ที่รุนแรงและคุกรุ่นอยู่ภายใน 

แม้ว่าหลายคนอาจรู้สึกว่าจำเป็นต้องต่อต้านหรือซ่อนความโกรธ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเหล่านี้กลับบอกในสิ่งที่ตรงกันข้าม และมองว่าความโกรธเป็นเครื่องมือสำคัญที่เราควรเรียนรู้ที่จะใช้ในทางที่ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ และใช้ให้มีประสิทธิผล

เดโบราห์ แอชเวย์ ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตเมืองนิวเบิร์น รัฐนอร์ธแคโรไลนา สหรัฐฯ กล่าวว่า หากเราโตมาด้วยการไม่รู้จัก หรือไม่เคยเรียนรู้กับความโกรธ และแม้แต่ถูกปลูกฝังไม่ให้แสดงความโกรธออกมา เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องดี แต่เชื่อเถอะว่าอารมณ์โกรธไม่ได้หายไปไหน และมันจะกลายเป็นสิ่งที่ควบคุมตัวเราเอง หากเราไม่รู้จักมันหรือไม่เคยเรียนรู้กับอารมณ์ความโกรธ

แอชเวย์ ย้ำว่า ความโกรธ คือสัญญาณเตือนมายังตัวเราเองว่า กำลังจะมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น และเราต้องเตรียมรับมือ ซึ่งในอีกมุมก็คือ ความโกรธคืออารมณ์ที่ปกป้องเราจากอันตรายได้

แอชย์เวย์ บอกอีกว่า เมื่อเราเลือกการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ แม้ว่าจะอยู่ภายใต้อารมณ์ของความโกรธ อารมณ์ความโกรธจะทำหน้าที่ผลักดันและยืนหยัดกับสิ่งที่เราต้องการได้ เช่น การต่อสู้เพื่อป้องกันตัว หรือกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่เกิดจากแรงบีบรัดทางสังคมต่างๆ 

ความโกรธพร้อมกับ ‘สติ’ ที่นำไปสู่การกระทำ จะช่วยกำหนดขอบเขต และช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับตัวเองเมื่อเจอกับสถานการณ์ที่ทำให้มีความโกรธ และทำให้เราสามารถจัดการกับเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม 

"เราใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ไม่ต้องเป็นความโกรธที่เป็นเรื่องรุนแรงอย่างเดียว แต่ยังใช้กับเรื่องการสนทนาระหว่างกันได้ เพราะบางคำพูดของคู่สนทนา อาจทำให้ไม่สบอารมรณ์ของตัวเราที่ฟังอยู่ หรือเมื่อเจอกับอะไรขัดขวาง และเราจำเป็นต้องเอาชนะอุปสรรคบางอย่าง ความโกรธสามารถช่วยสร้างแรงจูงใจให้เราทำเช่นนั้นได้ หากเรียนรู้และฝึกความโกรธอยู่เป็นประจำ” แอชเวย์ กล่าว 

อย่างไรก็ตาม มีโอกาสที่ระดับความโกรธจะถูกยกขึ้นไปเป็นระดับ "โกรธแค้นที่พร้อมกระทำ" ที่บ่งบอกถึงความพยาบาทที่เป็นเรื่องรุนแรง 

นักจิตวิทยามองว่า ความโกรธแค้น ไม่ใช่ความโกรธ ต้องแยกกันอย่างชัดเจน 

3

เพราะความโกรธแค้นนั้นไม่มีผลดีต่อสุขภาพร่างกาย และจิตใจ แต่จะมุ่งเน้นไปที่การทำลายล้างมากกว่า ส่วนความโกรธที่เป็นอารมณ์ คือการประมวลผลทางจิตใจก่อนจะตัดสินใจทำอะไรลงไป ความโกรธมันจึงยังไม่ผ่านกระบวนการความสำเร็จ ที่จะยกระดับตัวเองไปสู่ความโกรธแค้น 

"โดยธรรมชาติแล้ว เราไม่สามารถนำความโกรธ ไปถึงจุดโกรธแค้นที่ต้องการทำอะไรที่รุนแรงได้ เว้นแต่ว่า เราไม่เคยฝึกความโกรธ หรือทบทวนอารมณ์ตัวเองขณะที่มีอารมณ์เลย มันจะทำให้จิตใจอ่อนแอ ซึ่งง่ายต่อการยกระดับความโกรธให้นำไปสู่ความรุนแรง" แอชเวย์ กล่าว 

แนวทางการฝึกอารมณ์โกรธของตัวเอง ทั้งแอชเวย์ ที่เป็นนักจิตวิทยา แนะว่า การคงอารมณ์โกรธเอาไว้ ไม่ดับมันลงไป แต่จงรู้สึก และเรียนรู้กับมันอย่างรอบคอบและเต็มที่อย่างรู้ทัน สิ่งนี้คือการประมวลผลทางจิตใจ และเป็นการทำให้ร่างกายที่สัมพันธ์กับความรู้สึกและจิตใจของตัวเราเองนั้น 'สงบลง' อย่างธรรมชาติ 

ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ 'สติ' ที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ตรงหน้า หรือพาออกจากอารมณ์โกรธนั้นอย่างสมบูรณ์ และไม่ยกระดับความโกรธเป็นความโกรธแค้น 

"เราต้องเริ่มปล่อยมัน (ความโกรธ) เข้ามา และนั่งไปกับมัน พร้อมกับสังเกต และตัดสินเลือกแนวทางที่เราต้องการ หรือต้องการป้องกันตัวเองจากเรื่องอะไร มันเป็นคำถามที่สำคัญมากที่เราต้องถามตัวเองในขณะนั้น และในความคิดนั้นที่อยู่กับความโกรธ เราจะเห็นทางออกของอารมณ์" แอชเวย์ ให้คำแนะนำ และย้ำในตอนท้ายอีกว่า หากเราควบคุมความโกรธจนชินชาได้แล้ว ความโกรธที่ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ได้ตลอดเวลา จะไม่มีสิทธิเข้ามาควบคุมตัวคุณเองอีกต่อไป 

ที่มา 
https://edition.cnn.com/2023/08/31/health/anger-good-thing-wellness/index.html