ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 40 จะไม่ได้รับการคุ้มครองด้านการ รักษาพยาบาล เมื่อเจ็บป่วยสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) ได้ หรือหากได้รับสิทธิเบิกจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลาง ก็ยังคงได้รับสิทธิได้ตามปกติ

2

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 

คือบุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 โดยจะมีการจ่ายเงินสมทบทุกเดือนตามอัตราที่กำหนด 

กรณีเจ็บป่วยทำอย่างไร

บุคคลที่สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เมื่อเจ็บป่วยจะใช้สิทธิการรักษาเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น หากได้รับสิทธิเบิกจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลาง หรือมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทองหรือบัตร 30 บาท) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็ยังคงได้รับสิทธินั้นๆ ได้ตามปกติ 

2

แล้วมาตรา 40 ให้อะไร 

มาตรา 40 ไม่ได้ให้ความคุ้มครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่ให้เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย และกรณีทุพพลภาพ รวมถึงได้รับเงินค่าทำศพ กรณีตาย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

การใช้สิทธิเข้ารับบริการ

1. ติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิบัตรทอง กรณีเกินศักยภาพจะส่งตัวไปหน่วยบริการที่รับส่งต่อ
2. แจ้งความจำนงใช้สิทธิบัตรทองก่อนรับบริการ
3. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน

2

4 วิธีเช็คสิทธิรักษาพยาบาล ทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง 

1. โทร. สายด่วน สปสช. 1330 กด 2
2. เว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th เมนูสำหรับประชาชน เลือกตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพ https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml 
3. แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง
4. ไลน์ OA สปสช. แอดไลน์ สปสช. พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

3