ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

The Conversation : ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขกำลังถูกคุกคาม ซึ่งยังไม่รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่า การเพิ่มขึ้นของการลงทุนด้านการป้องกันที่เป็นพื้นฐานของความยั่งยืนในระบบบริการสุขภาพ (NHS) ของประเทศอังกฤษ การตัดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขเป็นความตื่นตระหนกของการบริหารในระยะสั้น และแสดงถึงความล้มเหลวของรัฐบาลในความเข้าใจถึงธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของสุขภาพและความเจ็บป่วยในประเทศอังกฤษ

การตอบสนองต่อเสียงร้องจากผู้นำด้านสุขภาพ โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง George Osborne ได้ประกาศเติมเงินสด 3.8 พันล้านปอนด์เข้าสู่ระบบ NHS อังกฤษ ซึ่งแน่นอนเงินจำนวนนี้ไม่ใช่สำหรับ NHS เท่านั้น แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับผู้ป่วย เช่น ภาวะวิกฤตที่แผนกฉุกเฉินต้องเผชิญในช่วงฤดูหนาวอันโหดร้าย

ด้านหนึ่งก็อาจจะดูว่าเหมาะสม ในภาวะที่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพถูกกดดันมากขึ้นจากค่าใช้จ่ายด้านยา การรักษาและบริการทางการแพทย์ ที่สูงมากขึ้นกว่างบประมาณสนับสนุนด้านวัคซีนป้องกันโรค การให้บริการสุขภาพสำหรับเฉพาะกลุ่มเพศ การคัดกรอง และการเยี่ยมบ้าน

อย่างไรก็ตามความใส่ใจในบริการสุขภาพด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเหล่านี้ เป็นเพียงหนทางเดียวที่จะจัดการกับภาระจากความเจ็บป่วย

อะไรเป็นสาเหตุของช่องว่างของการจัดสรรงบประมาณด้านสุขภาพ?

การทำให้ชาวอังกฤษมีสุขภาพดีกลายเป็นการดำเนินงานที่เป็นภาระมาก การประกาศแผนการดำเนินงานในอนาคตของ Simon Stevens หัวหน้าฝ่ายบริหารของ NHS ที่ได้ระบุถึงการป้องกันในระยะยาวเพิ่มขึ้น เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็ง และภาวะสมองเสื่อม ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาไปตลอดอายุ

การเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดโรคอ้วน ความสัมพันธ์ของการดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารจานด่วน และการสูบบุหรี่ กับความต้องการเพิ่มอายุขัยของประชากร เป็นปัจจัยทำให้เกิดภาระต่อระบบบริการสุขภาพ ประกอบกับการพัฒนาตัวยาและเทคโนโลยีการรักษาใหม่ ต่างก็เป็นแรงผลักดันให้เกิดภาระทางการเงินที่ระบบ NHS ต้องเผชิญ

ประชากรอังกฤษที่เป็นผู้สูงอายุ เป็นคนไม่ชอบออกกำลังกาย เป็นคนที่นิยมการดื่มแอลกอฮอล์ มีภาวะโรคอ้วนมากขึ้น และยังต้องรับประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพได้ฟรีด้วย ทำให้กองทุน NHS ของอังกฤษ ต้องเผชิญกับภาวะขาดทุนกว่า 930 ล้านปอนด์ ในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งหัวหน้าฝ่ายบริหารของ NHS ได้รายงานว่าจะทำให้เกิดช่องว่างของงบประมาณสูงมากถึง 3 หมื่นล้านปอนด์ต่อปีภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563)

ในทางปฏิบัติก็คงจะไม่ใช่แบบนี้เสมอไป

เมื่อ Aneurin Bevan ก่อตั้งระบบ NHS ในปี ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) ค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพมีปริมาณอยู่ที่ 3.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งเขาเชื่อว่าค่าใช้จ่ายนี้จะลดลงเมื่อประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น อย่างไรก็ตามด้วยอุปสงค์ต่อบริการด้านสุขภาพที่สูงมากขึ้น ประกอบกับขอบเขตการแพทย์ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงสูงมากขึ้นถึงสิบเท่าในปี ค.ศ.2010-2011 (พ.ศ.2553-2554) แต่ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของอังกฤษจะสูงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของนายกรัฐมนตรี Tony Blair แต่ค่าใช้จ่ายของประเทศอังกฤษ ก็ยังต่ำกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มประเทศองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)

ในขณะที่หลายๆ ประเทศต่างอิจฉาระบบของประเทศอังกฤษว่า เป็นระบบที่มีการใช้เงินอย่างคุ้มค่า (bang-for-buck) แต่ผลงานของระบบ NHS ก็ยังอยู่ที่ระดับปานกลาง และยังมีเสียงวิจารณ์จากกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ว่าระบบของประเทศอังกฤษยังมีการจัดสรรเงินด้านสุขภาพไม่เพียงพอ

นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2010 (พ.ศ.2553) งบประมาณด้านสุขภาพมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียง 0.8% ต่อปี และจำนวนเงินด้านสุขภาพ ยังมีสัดส่วนลดน้อยลงอีก เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ทำให้ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ผิดแผกไปจากประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ

การจัดทำขอบเขตใหม่

ในรายงานแผนการดำเนินงานในอนาคตของ Simon Stevens หัวหน้าฝ่ายบริหารของ NHS ได้อ้างว่าระบบ NHS จะมีประสิทธิภาพและสามารถช่วยประหยัดเงินด้านสุขภาพได้ถึงปีละ 22 พันล้านปอนด์ โดยของบประมาณจากรัฐบาลมาช่วยสนับสนุนในส่วนที่ขาดทุนจำนวน 8 พันล้านปอนด์ โดยที่นายกรัฐมนตรีก็สัญญาว่าจะจำกัดขอบเขตการใช้จ่ายเงินของ NHS เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ต่อจากนั้น จึงได้มีประกาศเพิ่มเงินจำนวน 3.8 พันล้านปอนด์เข้าสู่ระบบ NHS ในปีหน้า ซึ่งก็น่าจะดูดีขึ้น

เงินจำนวนนี้ ย่อมได้มาจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง George Osborne ได้กำหนดขอบเขตการใช้จ่ายเงินของระบบ NHS โดยไม่ให้รวมบริการสาธารณสุขและกิจกรรมอื่นๆ เช่น การอบรมเจ้าหน้าที่ การควบคุมระบบงบประมาณที่ซับซ้อนของระบบ NHS ถือเป็นภารกิจสำคัญของรัฐมนตรีคลังที่คาดหวังชัยชนะในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) ที่จะสามารถช่วยเพิ่มดุลบัญชีได้ถึงหนึ่งหมื่นล้านปอนด์

การใช้งบประมาณเล็กน้อยเพื่อการป้องกัน

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของการจัดลำดับความสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมือง คือการตัดงบประมาณด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ที่จะสามารถช่วยประหยัดงบประมาณในปัจจุบัน แต่สุดท้ายก็จะก่อให้เกิดภาระมหาศาลกับระบบ NHS ในอนาคต

การป้องกันนอกจากจะมีความสำคัญกว่าการรักษาแล้ว ยังมีราคาที่ถูกกว่าอย่างมาก การฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่มีราคาเพียงไม่กี่ปอนด์จะสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการนอนโรงพยาบาลจำนวนเป็นหมื่นๆ ปอนด์ บริการอดบุหรี่ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง การให้บริการเพื่ออดเหล้า นอกจากจะช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสังคมแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ ได้ หรือการส่งเสริมการเลี้ยงทารกด้วยนมแม่ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคอ้วน และการเกิดโรคมะเร็ง การให้บริการถุงยางอนามัยฟรีในกลุ่มวัยรุ่น ยังช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและการติดเชื้อเอชไอวี การส่งเสริมสุขภาพเป็นการช่วยเพิ่มกิจกรรมทางกายและลดโอกาสเจ็บป่วยให้กับประชาชน เป็นต้น

เงินทุกบาทที่ใช้จ่ายไปในกิจกรรมเพื่อการป้องกันจะช่วยลดอุปสงค์ต่อบริการทางการแพทย์ราคาแพงในอนาคต รวมทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลให้กับระบบ NHS ในขณะที่ระบบปัจจุบันของ NHS เป็นระบบที่ไม่ยั่งยืน เพราะขึ้นกับการรักษาผู้ป่วยเป็นสำคัญ ซึ่งภาวะสังคมผู้สูงอายุ ภาวะโรคเรื้อรัง และภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่แพงกว่ามาก

การเปลี่ยนแปลงทิศทางการทำงานที่มุ่งเน้นการป้องกันนี้ เป็นทิศทางที่ทีมบริหารของ NHS เห็นว่าเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ระบบ NHS ทำหน้าที่ต่อไปได้ภายใต้งบประมาณที่จำกัด จึงไม่ต้องแปลกใจที่มีการตัดงบประมาณให้กับสาธารณสุขในพื้นที่ จำนวน 200 ล้านปอนด์ ซึ่งการตัดงบประมาณจำนวนเล็กน้อยนี้จะมีผลต่อค่าใช้จ่ายของระบบ NHS ในระยะยาว สูงถึง 1 พันล้านปอนด์ อย่าตัดสิ่งที่จำเป็นสำหรับพวกเราไป

เป็นการยากที่จะทำการวัดชุดสิทธิประโยชน์ของบริการสาธารณสุขในเชิงปริมาณ เนื่องจากเป็นบริการที่ต่อเนื่องหลายปี และมักจะไม่สามารถระบุตัวบุคคลผู้รับบริการได้ ผลลัพธ์ของระบบการส่งเสริมการให้วัคซีนป้องกันโรค คือการที่ประชาชนไม่เป็นโรคที่ป้องกันได้ จึงไม่สามารถที่จะระบุว่าใครจะเป็นโรคคอตีบ หรือโรคสมองอักเสบถ้าไม่ได้รับวัคซีน

การลงทุนในระบบสาธารณสุข ยังเป็นการยากสำหรับรัฐบาล เนื่องจากผลลัพธ์ของประโยชน์ที่ได้รับมักจะไปเกิดกับนักการเมืองรุ่นถัดไป และยังเป็นสิ่งที่สามารถแสดงเป็นผลงานในช่วงสิ้นสุดวาระการเลือกตั้งครั้งใหม่ในระยะ 5 ปีได้ยาก นักการเมือง จึงอาจจะต้องต่อสู้กับผลประโยชน์ในอนาคตที่สัมผัสไม่ได้เหล่านี้ ทั้งๆ ที่การลงทุนด้านสุขภาพนี้เป็นการลงทุนพื้นฐานที่สำคัญต่อความยั่งยืนในระบบสุขภาพของเราก็ตาม

ผู้บริหารของระบบ NHS หน่วยงานท้องถิ่น และกองทุนด้านสุขภาพต่างๆ หรือแม้แต่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษ ต่างก็สนับสนุนในการเพิ่มสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพลงสู่ด้านการป้องกันให้มากขึ้น และก็ยากที่จะเชื่อว่ารัฐบาลไม่ทราบถึงผลกระทบของการตัดงบประมาณเพิ่มขึ้น

พรรคอนุรักษ์นิยมได้เน้นถึงความมุ่งมั่นของพรรค ที่นอกจากช่วยสนับสนุนให้ระบบ NHS ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้แล้ว แต่ยังจะทำให้เกิดระบบบริการสุขภาพที่ดีระดับโลกด้วย

การมุ่งเป้าหมายในระยะสั้น ที่ต้องแลกกับภาระต่อระบบในระยะยาว จึงไม่ใช่เรื่องของสุขภาพ การตัดงบประมาณด้านสาธารณสุขจึงเสมือนการเฉือนเนื้อตัวเอง ถ้าการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ด้านสุขภาพคือเป้าหมายแล้ว ได้โปรดเถิด อย่าได้ตัดงบประมาณด้านสาธารณสุข

ที่มา: The Conversation - www.theconversation.com
ผู้เขียน: Luke Allen Researcher, Global Health Policy, University of Oxford