ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สารแห่งความหวังและความต้องการจาก ‘ผู้กำหนดนโยบาย’ ถึง ‘นักวิจัย’ จากเวทีอภิปราย “หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: เราผ่านอะไรมา และปัจจุบันอยู่ ณ จุดใด ?” ที่มีคีย์แมนคนสำคัญ ซึ่งคอยหนุนและขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง และความคิดเห็น 

ภายใต้วงประชุมระดับนานาชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย พ.ศ. 2566 ภายใต้ธีม “ทบทวนอดีตและแถลงการณ์สูอนาคต” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 ธ.ค. 2566 

เพื่อขอให้กำลังจากภาควิชาการ ได้เข้ามาสนับสนุนด้านการหาข้อมูลเชิงประจักษ์ รวมถึงข้อเสนอที่ตอบโจทย์กับความต้องการทั้งในเชิงระบบและสุขภาพของคนในประเทศ ในการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทยให้มีความมั่นคงและยั่งยืน 

4

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
"ขอให้นักวิจัยมีศรัทธา ขอให้เดินหน้าทำเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อไปด้วยการมีงานวิจัยมารองรับแนวคิด สวรส. พร้อมจะหนุนอย่างเต็มที่" 

1

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
"การเถียงกันในเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถือเป็นเรื่องปกติ ผมอยากให้เถียงกันให้มากขึ้นในกลุ่มนักวิจัย แล้วเอาข้อสรุปไปต่อยอดทำประโยชน์ให้กับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" 

4

ปาริฉัตร จันทร์อำไพ ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.)
"การขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะหยุดนิ่งไม่ได้ แต่การเดินหน้าจะต้องดูบริบทคุณภาพของการรักษาอย่างจริงจังด้วย" 

1

นายน้อง เจริญนาค ผู้อำนวยการกองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 3 สำนักงบประมาณ
"สำนักงบฯ มีเป้าหมายเดียว คือประชาชนสุขภาพดี คนทำงานมีความสุข และระบบสุขภาพต้องยั่งยืน" 

4

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล  (องค์การมหาชน) หรือ สรพ.
"การเข้าถึงบริการสุขภาพที่ไม่มีคุณภาพ ก็เหมือนกับการเข้าไม่ถึงการบริการ" 

1

นิมิตร์ เทียนอุดม ที่ปรึกษาผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์
"อย่าเบื่อที่จะเถียงกัน หรือเบื่อที่คุยกัน เถียงกันไปเถอะครับ ถ้าจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพดีขึ้น เพราะสุดท้ายผมเชื่อว่าทุกคนจะมากอดคอกันทำงานเพื่อประชาชนต่อไป"