ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ประกาศ “รายชื่อโรคติดต่อที่ต้องรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558” (ฉบับปรับปรุงวันที่ 1 ก.พ. 2566) โดยจำแนกโรคออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1. โรคติดต่ออันตราย 13 โรค กำหนดให้รายงานทันทีที่พบผู้ป่วยแม้เพียงสงสัย โดยแจ้งเบื้องต้นไปยังคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัด โดยไม่ต้องรอการวินิจฉัยสุดท้ายจากแพทย์ และไม่ต้องรอการลงรหัส ICD-10

ทั้งนี้ ประกอบด้วย กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ไข้เวสต์ไนล์ ไข้เหลือง โรคไข้ลาสซา โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก

2. โรคที่ต้องเฝ้าระวังและรายงานผู้ป่วยสู่ระบบรายงาน 506 57 รหัสโรค แบ่งออกเป็น

กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา โรคบิดมีตัวหรือโรคบิดจากเชื้ออะมีบา ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย ไข้พาราไทฟอยด์หรือไข้รากสาดเทียม โรคพยาธิใบไม้ตับ โรคโบทูลิซึม โรคอาหารเป็นพิษจากเห็ด โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด เอ โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด อี

กลุ่มโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

กลุ่มโรคติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ ไข้หัดเยอรมัน-ไข้หัดเยอรมันที่มีโรคแทรกซ้อน โรคสุกใสหรือโรคอีสุกอีใส โรคโปลิโอ ไข้หัดที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ไข้หัดที่มีโรคแทรกซ้อน โรคคอตีบ โรคไอกรน โรคบาดทะยัก ไข้สมองอักเสบเจแปนนิส โรคคางทูม บาดทะยักในเด็กแรกเกิด ไข้หัดเยอรมันแต่กำเนิด

กลุ่มโรคติดเชื้อระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ มิได้ระบุรายละเอียด

กลุ่มโรคติดเชื้อที่นำโดยแมลง ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้เลือดออกช็อก ไข้มาลาเรีย โรคสครับไทฟัส ไข้เด็งกี ไข้ปวดข้อยุงลาย โรคติดเชื้อไวรัสซิกา

กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ โรคซิฟิลิส โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคแผลริมอ่อน กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง โรคเริมของอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก โรคหูดอวัยวะเพศและทวารหนัก โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด บี โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด ซี โรคไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ชนิด ดี

กลุ่มโรคติดเชื้อจากการสัมผัส ได้แก่ โรคมือเท้าปาก โรคเมลิออยโดสิส ไข้เอนเทอโรไวรัส ไข้ฝีดาษวานร

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ โรคเลปโตสไปโรสิส โรคแอนแทรกซ์ โรคทริคิโนสิส โรคติดเชื้อสเตร็พโตคอคคัสซูอิส โรคบรูเซลโลสิส ไข้หวัดนก

3. การเฝ้าระวังกลุ่มอาการ (รายงานเป็นจำนวนผู้ป่วย) ลักษณะข้อมูลเป็นแบบการรายงานข้อมูลที่นับจำนวนผู้ป่วยตามกลุ่มอาการที่มารับบริการที่โรงพยาบาล โดยใช้ ICD-10 เป็นตัว แปรในการนับจำนวนจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล

ประกอบด้วยโรคต่าง ๆ ดังนี้ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคตาแดงจากไวรัส โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ไข้ไม่ทราบสาเหตุ ไข้ออกผื่นจากการติดเชื้อไวรัส

อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายของประกาศมีการกำหนดหมายเหตุเอาไว้ โดยระบุว่า โรคที่ตัดออกจากการรายงาน 506 ได้แก่ วัณโรคทุกระบบ และ โรคเรื้อน ให้รายงานเป็นทะเบียนผู้ป่วยในฐานข้อมูลที่กรม ควบคุมโรคกำหนด

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ ไข้ดําแดง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่ไม่ระบุ โรคลิชมาเนีย และโรค เท้าช้าง ให้สอบสวนผู้ป่วยตามเกณฑ์การสอบสวนการระบาด เช่น พบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นโรคที่พบใหม่ในพื้นที่ และรายงาน เป็นเหตุการณ์ผิดปกติทางระบาดวิทยา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม