ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ตามที่มีกลุ่มบุคคลเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ บิดเบือน ให้ร้ายและโจมตีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มาต่อเนื่องและยาวนาน แม้ว่า สปสช.จะได้ชี้แจงข้อมูลที่เป็นจริงในทุกทางการสื่อสารที่จะทำได้ แต่บุคคลกลุ่มนี้ก็ยังบิดเบือนข้อมูลให้ร้าย สปสช.ซ้ำซาก ยังคงสร้างภาพ สปสช.ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐให้มีอำนาจเกินจริง สร้างความเสียหายให้กับ สปสช.

สปสช.ขอย้ำอีกครั้งว่า สปสช.นั้นเป็นหน่วยงานรัฐ มีหน้าที่ต้องทำตามกฎหมายและระเบียบข้อปฏิบัติทั้งหลายที่มีในประเทศนี้ ไม่สามารถทำอะไรที่เกินไปกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ สปสช.เป็นหน่วยงานรัฐที่ถูกตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ทั้งตรวจสอบตามกระบวนการปกติที่กฎหมายกำหนด และการตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คตร., ปปช., ป.ป.ท., ดีเอสไอ และ สตง.ที่ตรวจประจำทุกปี ทุกการตรวจสอบไม่พบการทุจริต ท่านผู้อ่านสามารถตรวจสอบได้จากหน่วยงานข้างต้น

ในส่วนของข้อกล่าวหาซ้ำๆ ที่จะขอยกมาตอบในที่นี้ มีอาทิเช่น

1.ให้ร้าย สปสช.ว่าตกแต่งบัญชี จนกระทรวงการคลังหลงเชื่อ และให้รางวัลหน่วยงานที่บริหารกองทุนดีเด่นมาทุกๆปี เป็นประเด็นที่ สปสช.เคยชี้แจงหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังมีความพยายามนำเรื่องเดิมที่เป็นการบิดเบือนกลับมาโจมตีซ้ำแล้วซ้ำเล่า ขอชี้แจงอีกครั้งว่า เรื่องนี้ไม่สามารถดำเนินการได้ อ่านรายละเอียดยาวๆ ได้ตามลิงค์นี้ http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9590000064167

https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MTQ0MQ==

ทั้งนี้ รางวัลกองทุนหมุนเวียนดีเด่นนี้ แต่ละปีมีหลายหน่วยงานได้รับ เช่น กองทุนสนับสนุนการวิจัย กองทุนประกันการวินาศภัย กองทุนประกันสังคม และกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ฯลฯ การกล่าวหามั่วๆ เช่นนี้ก็เหมือนกล่าวหาว่า เกณฑ์การให้รางวัลของกระทรวงการคลัง ไม่มีมาตรฐาน ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2558 บุคคลท่านนี้เคยเขียนบทความระบุว่า “ถึงขั้นกระทรวงการคลังต้องเอาปี๊บคลุมหัวที่ให้รางวัล สปสช.” ท่านผู้อ่านลองใช้วิจารณญาณตรองดูว่า เหมาะสมหรือไม่ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เสียงจากประชาชนถึงขบวนการจ้องทำลายหลักประกันสุขภาพ “หยุดละเมิดสิทธิประชาชนเสียที”

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000062445

2.จงใจบิดเบือนว่า สปสช.จ่ายเงินให้ รพ.ไปแล้ว แต่มาเรียกคืน ตรงนี้คือการตรวจสอบการเบิกจ่าย ต้องเข้าใจว่า หลักการใช้เงินภาษีประชาชน ต้องถูกตรวจสอบว่าใช้ตามนั้นจริงหรือไม่ สปสช.ชี้แจงหลายครั้ง ทั้งชี้แจงเอง และคำชี้แจงจากกลุ่มแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขที่ทำงานใน รพ.ที่ตรวจสอบกันเอง ทั้งนี้กระบวนการกว่าจะออกเป็นมาตรการอะไรได้นั้น สปสช.ดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน ที่มาจากทุกภาคส่วน และเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ สปสช.ทำหน้าที่จัดการ เพราะเราไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่จะทำได้ทั้งหมด

สำหรับคำชี้แจงเรื่องนี้ สั้นๆ คือ สปสช.ยืนยันว่าไม่ก้าวล่วงการรักษาของแพทย์ การตรวจสอบเวชระเบียนยึดหลักเกณฑ์ราชวิทยาลัยแพทย์ ผู้ตรวจสอบคือแพทย์จากทุกภาคส่วน ทั้ง รพ.รัฐ, โรงเรียนแพทย์ และ รพ.เอกชน ที่ตรวจสอบไขว้กันตามเกณฑ์และแนวทางที่กำหนดจากผู้แทนวิชาชีพและ 3 กองทุนสุขภาพ

ทั้งนี้ เมื่อดูข้อมูลในปี 2558-2560 พบว่าสัดส่วนการตรวจสอบเบิกจ่ายผู้ป่วยในเพียง 2.26% ไม่ใช่ตรวจสอบทุกการรักษาพยาบาล นั่นคือ จากการจ่ายชดเชยผู้ป่วยในประมาณ 18 ล้านฉบับ มีการสุ่มตรวจสอบการจ่ายชดเชยผู้ป่วยในตามการวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ประมาณ 4 แสนฉบับ หรือ 2.26% เท่านั้น โดยตรวจสอบพบ มีทั้งกรณีเรียกเงินคืนและจ่ายชดเชยหน่วยบริการเพิ่ม เหตุจากบันทึก, ใส่รหัส และสรุปผิดไม่ถูกต้อง ที่ผ่านมายังไม่เคยเรียกค่าปรับจากหน่วยบริการที่เบิกจ่ายไม่ถูกต้อง ขณะที่เงินที่ถูกเรียกคืนนั้น สปสช.ส่งกลับให้แต่ละเขต เพื่อกระจายให้กับหน่วยบริการในพื้นที่       

อ่านคำอธิบายเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการชี้แจงเท่านั้น

-สปสช.ปัดกำหนดวิธีรักษาให้หมอ แจงจัดหาบริการตามเกณฑ์ราชวิทยาลัยให้ผู้ป่วยบัตรทอง

https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000051418\

21 พฤษภาคม 2560

-เช็ก’ค่าชดเชยทางการแพทย์’ เกราะป้องกัน’หมอ’รักษาพลาด https://www.matichon.co.th/news/636499

วันที่ 21 สิงหาคม 2560

-ระบบสอบเบิกจ่าย เกลี่ยงบบัตรทอง เพิ่มประสิทธิภาพการรักษา https://www.matichon.co.th/news/637713

วันที่ 22 สิงหาคม 2560

-สปสช.แจงตรวจสอบเบิกจ่ายผู้ป่วยใน 2.26% มีทั้งจ่ายเพิ่มและเงินเรียกคืนที่ส่งกลับเขต

https://www.prachatai.com/journal/2018/03/75930

18 มีนาคม 2561

-สปสช.แจงปมข่าวลวงไม่จ่ายเงินรพ.หากไม่วัดค่าก๊าซในเลือด ยันจ่ายจริงตามคู่มือ สธ.

http://www.naewna.com/local/317068

28 มกราคม 2561

3.จงใจบิดเบือนงานวิจัยทีดีอาร์ไอเรื่องอัตราตายของผู้ป่วยสิทธิบัตรทองและสิทธิข้าราชการ เรื่องนี้ชี้แจงหลายครั้ง ทั้งจากทีดีอาร์ไอ ผู้เชี่ยวชาญที่ชี้แจงเพราะทนเห็นความบิดเบือนงานวิจัยไม่ได้ สั้นๆ คือ

-16 มิ.ย.58 ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ทีดีอาร์ไอ “ไม่อาจเอามาวิเคราะห์ได้ว่าเป็นเพราะสิทธิบัตรทองได้รับการรักษาไม่มีคุณภาพ เพราะยังต้องศึกษาตัวแปรอื่นอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาชีพ หรือรายได้ที่สูงกว่า ชี้หากทำแบบนั้นเท่ากับบีบบังคับข้อมูลที่มีเล็กน้อยให้ตอบคำถามมากไป”

-25 มิ.ย.58 ดร.ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร ทีดีอาร์ไอ “การตีความดังกล่าวไปไกลเกินกว่าผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอและข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ เพราะการจะสรุปว่าอัตราการเสียชีวิต “สูงผิดปรกติ” หรือ “สูงเกินไป” นั้นจำเป็นจะต้องเปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วย 2 ชุดที่มีลักษณะผู้ป่วยเหมือนหรือคล้ายกันมาก ข้อมูลที่มีอยู่มิได้มีการจัดเก็บข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับผู้ป่วย เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วย ดังนั้นเราจึงไม่สามารถสรุปได้ว่าฐานข้อมูลสองชุดนี้มีผู้ป่วยในลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันมากพอหรือไม่”

และมีอีกหลายท่าน อ่านคำอธิบายเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้

-ทีดีอาร์ไอแจงสิทธิสุขภาพเหลื่อมล้ำสูง ข้าราชการอายุยืนเพราะมีหลายปัจจัยเหนือบัตรทอง

https://prachatai.com/journal/2015/06/59812

2015-06-16

-สปสช.เดือดเปิดโปงวิจัย "บัตรทอง" ตายสูง แจงกำหนดแนวทางรักษาผ่านหมอเชี่ยวชาญแล้ว

http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000072077

25 มิถุนายน 2558

-แพทย์ชี้งานวิจัยTDRIพลาดระบุผู้ป่วยบัตรทองตายสูงเกินจริง

http://www.posttoday.com/social/health/372510

24 มิถุนายน 2558

-ทีดีอาร์ไอแจงงานวิจัยไม่เคยพูด “บัตรทอง” ตายสูงกว่า ขรก.ไม่หมกเม็ดผลวิจัย

http://www.thaiday.com/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000075574

4 กรกฎาคม 2558 

-ความโปร่งใส ผลประโยชน์ทับซ้อน และจริยธรรมทางวิชาการ โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

http://tdri.or.th/tdri-insight/research_ethics_somkiat/

1 กรกฎาคม 2558 

-ชี้งานวิจัยฟันธง “บัตรทองแย่” เป็นตลกร้าย หวั่นเกิดความวุ่นวาย http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435225071

26 มิถุนายน 2558

-ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสิทธิบัตรทองตายมากกว่าสิทธิข้าราชการจริงหรือ? โดย นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000072437

26 มิถุนายน 2558

-ชี้วิจัยบัตรทองทีดีอาร์ไอ ตอบโจทย์ความต่างค่ารักษา แต่วัดคุณภาพไม่ได้ เหตุไม่คุมตัวแปร

https://prachatai.com/journal/2015/06/59943

วันที่ 24 มิถุนายน 2558

-บาปที่ไม่ได้ก่อ เผือกร้อน สปสช. อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/508646

ทีดีอาร์ไอแจงสิทธิสุขภาพเหลื่อมล้ำสูง ข้าราชการอายุยืนเพราะมีหลายปัจจัยเหนือบัตรทอง

http://tdri.or.th/tdri-insight/20150617/

16 มิถุนายน 2558

สรุป จะเห็นได้ว่า ทุกเรื่องได้มีการชี้แจง ทำความเข้าใจ และอธิบายไปแล้วหลายครั้งในทุกรูปแบบการสื่อสารและช่องทางการสื่อสารที่จะทำได้ แต่บุคคลกลุ่มนี้ก็ยังกล่าวหาให้ร้ายซ้ำซากในประเด็นเดิม และเชื่อแน่ว่า ภายหลังข้อความชี้แจงนี้เผยแพร่ออกมา ก็จะยังคงมีการให้ข้อมูลมั่วเพื่อจงใจให้ร้ายอีกหลายครั้ง คำแนะนำ คือ กรุณากลับไปอ่านบรรทัดแรกอีกครั้ง และสำหรับผู้รับสารทุกท่าน พึงใช้วิจารณญาณในการรับสาร ตรวจสอบข้อมูลก่อน ซึ่งปัจจุบันนี้การจะสืบค้นข้อมูลและตรวจสอบประเด็นต่างๆนั้น สามารถทำได้ง่ายและมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก

ด้วยความปรารถนาดีจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) วันเสาร์ที่ 21 เมษายน 2561