ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลบุคลากรด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2566  ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการใช้ประเมินสถานการณ์ การกระจายข้อมูลด้านทรัพยากรสุขภาพ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการงานด้านสาธารณสุข การวางแผนกำลังคน การวางแผนการผลิต กระทั่งการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม และเป็นธรรม

สำหรับการรวบรวมข้อมูลดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจาก พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ปีงบประมาณ 2551 มีการปรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญใหญ่ ทำให้ต้องมีการปรับฐานข้อมูลบุคลากรสาธารณสุขที่ต้องจัดเก็บให้มีความสอดคล้องกัน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเมื่อปีงบประมาณ 2551 เป็นฐานตั้งต้น

จนมาสู่ปีงบประมาณ 2554 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ได้พัฒนาระบบข้อมูลทรัพยากรสุขภาพด้านบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้เป็นระบบฐานข้อมูลรายบุคคลในภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยจะสำรวจข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. เป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง และในปีงบประมาณ 2566 กองยุทธศาสตร์ฯ สป.สธ. ได้นำข้อมูลบุคลากรจากฐานข้อมูลของกองบริหารทรัพยากรบุคคล โดยมีข้อมูลประเภทข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานข้าราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราว 

“The Coverage” ขออาสากางภาพจำนวนบุคลากร สธ. ในภาพรวมประเทศ ทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทข้าราชการ จำนวน 16 ตำแหน่ง ประเภทพนักงานข้าราชการ ประเภทลูกจ้างชั่วคราว ประเภทลูกจ้างประจำ และประเภทพนักงานกระทรวงสาธารณสุข

ภาพจาก รายงานข้อมูลบุคลากรด้านสาธารณสุข ปี 2566

หากมองจากตารางด้านบน บุคลากรทางการแพทย์ สธ. ที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ (จำนวน 123,293 คน) รองลงมาคือนักวิชาการสาธารณสุข (จำนวน 29,542 คน) แพทย์ (จำนวน 22,602 คน) ส่วนประเภทบุคลากรที่มีน้อยที่สุด ได้แก่ นักวิชาการสถิติ (จำนวน 227 คน) และนักจิตวิทยา (จำนวน 534 คน) ตามลำดับ

สัดส่วนของบุคลากรทางแพทย์ สธ. ภาพรวม ‘ประเภทข้าราชการ’

แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักกายภาพบำบัด
22,093 5,993 10,125 113,580 5,073 1,672 2,196 3,200
นักจิตวิทยา นักวิชาการสถิติ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าพนักงานสาธารณสุข แพทย์แผนไทย
405 102 23,823 1,453 4,776 1,353 8,572 1,926

สัดส่วนของบุคลากรทางแพทย์ สธ. ภาพรวม ‘ประเภทพนักงานข้าราชการ’

แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักกายภาพบำบัด
0 0 1,151 45 108 22 263 72
นักจิตวิทยา นักวิชาการสถิติ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าพนักงานสาธารณสุข แพทย์แผนไทย
30 70 623 37 1 62 99 135
ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ช่วยทันตแพทย์ ผู้ช่วยเภสัชกร พนักงานกายภาพบำบัด พนักงานการแพทย์และรังสีเทคนิค พนักงานขับรถยนต์ พนักงานช่วยการพยาบาล พนักงานช่วยเหลือคนไข้
9 47 5 52 68 1,134 31 3,930

สัดส่วนของบุคลากรทางแพทย์ สธ. ภาพรวม ‘ประเภทลูกจ้างชั่วคราว’

แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักกายภาพบำบัด
484 10 25 6,906 165 72 57 123
นักจิตวิทยา นักวิชาการสถิติ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าพนักงานสาธารณสุข แพทย์แผนไทย
30 1 1,710 8 3 248 242 423

สัดส่วนของบุคลากรทางแพทย์ สธ. ภาพรวม ‘ประเภทลูกจ้างประจำ’

พนักงานประจำห้องทดลอง พนักงานประจำห้องยา พนักงานเภสัชกรรม พนักงานสุขภาพชุมชน พนักงานห้องปฏิบัติการ พนักงานห้องผ่าตัด พนักงานห้องเฝือก
20 99 243 25 79 49 16

สัดส่วนของบุคลากรทางแพทย์ สธ. ภาพรวม ‘ประเภทพนักงานกระทรวงสาธารณสุข’

แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักกายภาพบำบัด
25 0 40 2,762 258 69 386 258
นักจิตวิทยา นักวิชาการสถิติ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าพนักงานสาธารณสุข แพทย์แผนไทย
69 54 3,386 131 4 384 527 898