ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดทำ แนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ในนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สำหรับหน่วยบริการภาครัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ขึ้น เมื่อเดือน ม.ค. 2566 เพื่อรับมือกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะไหลบ่าเข้าสู่ประเทศไทย

วัคซีนโควิด-19 ที่ให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จะเป็นวัคซีนที่จัดให้โดยรัฐบาลไทยเท่านั้น ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Pizer และ วัคซีนของบริษัท AstraZeneca โดยไม่รวมถึงกรณีวัคซีนรับบริจาค

สำหรับหลักการบริหารวัคซีนโควิด-19 ให้คำนึงถึง ‘ปริมาณวัคซีนคงคลัง’ ที่จะไม่กระทบกับประชาชนไทย โดยจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประชาชนไทยเป็นลำตับแรก และการบริการวัคซีนสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ให้อยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจ โดยคิดค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม

ในส่วนของ ‘กลุ่มเป้าหมาย’ ที่สามารถเรียกเก็บค่าบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้แก่ ชาวต่างชาติที่ถือวีซ่านักท่องเที่ยว หรือชาวต่างชาติไม่สามารถแสดงเอกสารยืนยันสถานะการเข้าและพำนักในราชอาณาจักรไทย

สำหรับชาวต่างชาติที่มีหลักฐานแสดงสถานะการทำนักระยะยาวในราชอาณาจักรไทย (Expatriate) หรือถือใบอนุญาตทำงาน (Work permit) หรือถือวีซ่าอื่น ๆ เช่น วีซ่าสำหรับการพำนักในราชอาณาจักรไทยระยะยาว (Long Stay) วีซ่าทูต (Diplomatic Visa) เป็นต้น สามารถรับวัคซีนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายตามนโยบายการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย

1

การเปิดให้บริการของหน่วยบริการนอกสังกัด สธ. นั้น ให้ต้นสังกัดของหน่วยบริการที่ประสงค์จะเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการฉีดวัคซีน เช่น กรุงเทพมหานคร กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักนายกรัฐมนตรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ

ให้ทำหนังสือแจ้งความประสงค์เปิดหน่วยบริการฯ ในสังกัด เรียน อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมทั้งระบุชื่อหน่วยบริการ สถานที่ตั้ง วันและเวลาเปิดบริการ รวมถึงชื่อผู้รับผิดชอบหลักประจำหน่วยบริการฯ ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา (ภาคผนวก 1) โดยกรมควบคุมโรคจะแจ้งแนวทางฯ ให้กับต้นสังกัดที่แจ้งความประสงค์ต่อไป

ทั้งนี้ หน่วยบริการที่ประสงค์เข้าร่วมจะต้องมีการให้บริการฉีดวัคซีนคนไทยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายควบคู่กันไปด้วย

การเตรียมความพร้อมและแนวทางปฏิบัติ

- ให้หน่วยบริการฯ เตรียมความพร้อมต้านวัคซีน โดยแจ้งจำนวนวัคซีนที่ต้องการขอรับการสนับสนุนสำหรับบริการฉีดนักท่องเที่ยวชาวต่างขาติ ผ่านต้นสังกัด และต้นสังกัดบันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนดผ่านระบบ online ภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน

  - ให้ประกาศแจ้งอัตราค่าบริการและแนวทางการเข้ารับบริการ เพื่อสื่อสารให้นักท่องเที่ยว

ชาวต่างชาติทราบ

- ให้ผู้รับบริการลงนามในเอกสารแสดงความประสงค์ขอรับการฉีดวัคซีน รวมถึงลงนามยินยอมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง กรณีเกิดอาการไม่หึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน

- ให้บันทึกผลการฉีดวัคซีนลงในระบบ MOPH Immunization Center (MOPH IC)

- ให้ออกเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน รวมถึงจัดช่องทางการติดต่อสำหรับผู้รับบริการกรณีที่มีปัญหา

2

แนวปฏิบัติในการบริหารการเงินการคลัง

- รายได้จากการจัดเก็บค่าบริการจากนักท่องเที่ยวชาวต่างซาติ ได้แก่ ค่าบริการผู้ป่วยนอก และค่าฉีดยา ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต้นสังกัด

รายได้จากค่าวัคซีนของบริษัท AstraZeneca หรือวัคซีนของบริษัท Pizer ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการโดยกรมควบคุมโรค เพื่อจัดทำข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง จึงขอให้หน่วยบริการชะลอการใช้จ่ายรายได้ส่วนนี้ไปก่อน โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

- ให้เพิ่มรายการ "วัคซีน AstraZeneca" และ "วัคซีน Pizer" ในระบบจัดเก็บรายได้ของหน่วยบริการฯ เพื่อให้สามารถระบุจำนวนเงินจากค่าวัคซีนได้ โดยไม่ให้ปะปนกับรายการอื่น ๆ

- จัดทำทะเบียนบัญชีรายชื่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่รับวัคซีนโควิด-19 แยกตามประเภทวัคซีน เพื่อเก็บเป็นหลักฐานหากมีการตรวจสอบ

- จัดทำทะเบียนรายงานการเก็บค่าวัคซีนโควิด-19 แยกตามประเภทวัคซีน เพื่อเก็บเป็นหลักฐานหากมีการตรวจสอบ ทั้งนี้ หากกระทรวงการคลังมีหนังสือตอบกลับมาอย่างเป็นทางการ กรมควบคุมโรคจะมีหนังสือแจ้งหน่วยงานต้นสังกัดของหน่วยบริการฯ เพื่อทราบแนวปฏิบัติต่อไป

การกำกับติดตามการดำเนินงาน

ให้หน่วยงานต้นสังกัด เช่น กรุงเทพมหานคร กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุตมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม สำนักนายกรัฐมนตรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น กำกับติดตามหน่วยบริการฯ ให้ปฏิบัติตามแนวทางฯ ฉบับนี้ และระเบียบที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด

ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานต้นสังกัดกำชับหน่วยบริการฯ ให้จัดเก็บค่าวัคซีนให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดอย่างรัดกุม เพื่อเป็นหลักฐานในกรณีที่มีการตรวจสอบ

1