ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

คงไม่ต้องสาธยายว่า ‘โรคมะเร็ง’ เป็นปัญหาสำคัญในแวดงวงสาธารณสุขเพียงใด เพราะจนถึงขณะนี้ ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ต้องยกระดับการให้บริการโดยมีหัวใจสำคัญคือ ต้องทำให้คนไข้เข้าถึงการรักษาที่รวดเร็วที่สุด

ที่ผ่านมา ภาครัฐได้พยายามขยายศักยภาพและหน่วยบริการให้ครอบคลุม โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดตั้งหน่วยงานที่ทำการรักษาผู้ป่วยมะเร็งขึ้นทั่วประเทศ

ประกอบด้วย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้บริการผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง

สำหรับ ‘ภาคใต้’ สถานการณ์ผู้ป่วยมะเร็งไม่หยิ่งหย่อน พบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ ปี 2560 จำนวน 1,365 ราย และปี 2565 เพิ่มเป็น 1,981 ราย ขณะที่ 5 อันดับมะเร็งที่พบบ่อย (รวมชายและหญิง) คือ 1. มะเร็งเต้านม 2. มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง 3. มะเร็งปากมดลูก 4. มะเร็งปอด และ 5. มะเร็งช่องปาก

1

เมื่อผู้ป่วยมากขึ้น ก็จำเป็นต้องขยายศักยภาพหน่วยบริการเพิ่มขึ้นอีก โดยขณะนี้ ‘ภาคใต้’ มีโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในเขตจังหวัดภาคใต้ ทั้งหมด 14 จังหวัด

จึงมีความจำเป็นต้องมีการขยายพื้นที่บริการ และได้ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก 80 กรมการแพทย์ เป็นอาคารสูง 5 ชั้น ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2563 วงเงินงบประมาณ 185 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2565

ทั้งนี้เพื่อให้บริการผู้ป่วยโรคมะเร็งในเขตจังหวัดภาคใต้ เป็นการอำนวยความสะดวก และเพิ่มขีดความสารถในการบริการ รองรับนโยบาย Cancer Anywhere ให้ผู้ป่วยมะเร็งได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ลดการรอคอย เพิ่มโอกาสการการหายป่วยจากโรคมะเร็ง

1

พญ.นิธิมา ศรีเกตุ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี กรมการแพทย์ ระบุว่า โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี กรมการแพทย์ มีวิสัยทัศน์คือเป็นองค์กรชั้นนำด้านโรคมะเร็งและเป็นที่พึ่งของประชาชนภาคใต้ โดยมีพันธกิจที่สำคัญคือผลิตพัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านโรคมะเร็งเสริมสร้างการมีส่วนร่วม (Co-Creation) ทางวิชาการและบริการทางการแพทย์ที่สมคุณค่า (Appropriate Medical Technology) พัฒนาสู่มาตรฐานสากล เพื่อประชาชนในภาคใต้

มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการรักษา ได้แก่ 1. รังสีรักษา 2. เวชศาสตร์นิวเคลียร์ 3. รังสีร่วมรักษา 4. ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (EGD/ colonoscopy) 5. คัดกรองมะเร็งปากมดลูก (HPV) 6. เคมีบำบัด 7. การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (palliative care)

มีการดำเนินงานตามนโยบายที่สำคัญ คือ Cancer Anywhere และระบบ consult เครือข่าย 7+1 จึงได้มีการสร้างอาคารผู้ป่วยนอก 80 ปีกรมการแพทย์ โดยอาคารดังกล่าวมีการให้บริการงานมะเร็งนรีเวช บริการงานส่องกล้องค้นหามะเร็งทางเดินอาหาร งานรับส่งต่อผู้ป่วยมะเร็ง งานบริการตรวจสุขภาพแบบ one stop service

นอกจากนี้ยังมี บริการงานทันตกรรมและศัลยศาสตร์ช่องปาก มีเครื่องมือและเทคโนโลยีประกอบด้วย 1. เครื่องเอกเรย์ฟันระบบดิจิตอล แบบ CT come beam 2. เครื่องผ่าฝันคุด 3. เตียงทันตกรรมไฟฟ้า ชุดเครื่องมือผ่าตัด maxillofacial สามารถเพิ่มขีดความสามารถในงานบริการทันตกรรมเฉพาะทางเช่น รากฟันเทียม ฟันปลอม เพดานเทียมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง งานทันตกรรมทั่วไป และงานผ่าตัดศัลกรรมช่องปากแมกซิลโลเฟเซียลในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ

3