ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข้อเสนอนี้ถูกพูดถึงใน ที่ประชุมคณะกรรมการผู้บริหารขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ระบุให้มีกลไกขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะตัวชี้ตัวในภาพรวมสะท้อนความล่าช้าในการขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโลก 

ในระหว่างการประชุม ดร.เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกอ้างอิงรายงานต่อประเทศสมาชิกว่า อัตราการเข้าถึงบริการสุขภาพหยุดนิ่งตั้งแต่ปี 2562 ขณะที่การคุ้มครองทางการเงินในผู้ป่วยลดลง 

People’s Health Movement กลุ่มภาคประชาสังคมขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพ ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า แม้หลายตัวชี้วัดสะท้อนความล้มเหลวในการขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หน่วยงานต่างไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลในการผ่อนปรนนโยบายหรือหากลไกใหม่ที่เพิ่มภาระให้กับประเทศกำลังพัฒนา

แต่องค์การอนามัยโลกควรหาข้อบกพร่องในกลยุทธ์การผลักดันเรื่องนี้และแก้ไขมัน ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาการเข้าถึงยาที่จำเป็นในราคาที่ไม่แพง ซึ่งเป็นตัวแปรที่ทำให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายประเทศ

ทางด้านองค์กรสหภาพการค้าและแรงงานอย่าง Public Services International ให้ความเห็นว่า ทุนจากภาครัฐยังไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ภาคเอกชนสามารถหาประโยชน์จากการประกันสุขภาพได้สูงสุด ผ่านการทำประกันสุขภาพกับภาคเอกชน

องค์กรภาคประชาสังคมทั้งสองยังแสดงความกังวลต่อข้อเสนอจัดตั้งกลุ่มการลงทุนที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพ หรือ Health Impact Investment Platform ซึ่งกลไกนี้เป็นการร่วมมือระหว่างธนาคารพัฒนาแห่งแอฟริกา (African Development Bank), ธนาคารลงทุนยุโรป (European Investment Bank), ธนาคารพัฒนาอิสลาม (Islamic Development Bank), และธนาคารพัฒนาอเมริกา (Inter-American Development Bank)

มีเป้าหมายให้เงินกู้ยืมและทุนให้เปล่าแก่ประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง เพื่อขยายบริการปฐมภูมิ ปัจจุบันมีทุนเริ่มต้นที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มหนี้สาธารณะในอนาคตในความเห็นของกลุ่มภาคประชาสังคม 

เช่นเดียวกับผู้แทนจากประเทศรวันดา จากกลุ่มประเทศแอฟริกา ซึ่งแสดงความกังวลต่อภาระหนี้สินที่จะเกิดขึ้นจากแนวทางการให้เงินกู้นี้ในระหว่างการประชุมองค์การอนามัยโลก โดยเฉพาะเมื่อประเทศกำลังพัฒนาหลายเจ้าจำเป็นต้องโอบรับเงินกู้เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพและการศึกษาในหลายทศวรรษที่ผ่านมา 

อัตราหนี้สาธารณะโดยเฉลี่ยต่อจีดีพีในกลุ่มประเทศแอฟริกาเพิ่มเกือบ 2 เท่าในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา หรือเพิ่มจาก 32% ในปี 2553 เป็น 57% ในปี 2565

กลุ่มภาคประชาสังคมจึงเสนอให้ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกหันมาพิจารณาการยกเลิกหนึ้ แทนที่จะสร้างกลไกใหม่ที่ส่งเสริมให้ประเทศที่มีรายน้อยถึงปานกลางกู้ยืมมากขึ้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประเทศเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนด้านการแพทย์ปฐมภูมิบนเงื่อนไขของตนเอง

“บริการปฐมภูมิไม่ใช่การลงทุนตามแบบการกู้ยืมกับธนาคาร ประเทศที่มีรายได้น้อยแลปานกลางต้องการยกเลิกหนี้ หรือแปลงหนี้ ไม่ใช่หนี้ที่สร้างภาระในนามของการสร้างบริการอพทย์ปฐมภูมิและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" People’s Health Movement ออกแถลงการณ์

อ่านบทความต้นฉบับ : https://peoplesdispatch.org/2024/01/26/new-round-of-universal-health-coverage-policies-lies-ahead-despite-missed-targets/