ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สื่อต่างประเทศรายงานข่าวชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมาก เป็นการระบุถึงผลสำรวจเกี่ยวกับโรคหัวใจของชาวอเมริกัน ซึ่งจัดทำขึ้นโดย สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association: AHA) 

ผลปรากฎว่า 51% ของผู้ที่ตอบแบบสำรวจ ไม่ทราบมาก่อนว่าโรคหัวใจ เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตชาวอเมริกันมากว่า 100 ปีแล้ว 

ผลสำรวจนี้ทำให้ สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐฯ ต้องออกมาตรการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับประชาชน ผ่าน 6 วิธีปฏิบัติอย่างง่าย ที่อธิบายโดย ดร.นอร์แมน ลีพอร์ (Dr. Norman Lepor) ผู้อำนวยการ AHA และยังเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ "The Coverage" เลยอยากนำมาบอกต่อ 
    
1. รู้ความเสี่ยงของตัวเอง 

การรู้ความเสี่ยงทางสุขภาพของตัวเอง ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ เพราะการรู้ถึงระดับคลอเลสตอรอลในร่างกย ประวัติการเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว รวมถึงทราบว่าปัจจัยอื่นๆ ที่จะมีผลต่อการเกิดโรคได้ เช่น การสูบบุหรี่ หรือการมีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ที่ต้องควบคุมและดูแลเป็นพิเศษ 

อย่างไรก็ตาม บทความดังกล่าวแนะนำให้ตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจที่ใช้งานได้ง่าย และมีราคาไม่แพง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ชาวอเมริกันหาซื้อได้เพื่อตรวจหาค่าคลอเลสตอรอล เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้ 

2. กินอาหารเพื่อสุขภาพ 

อาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพของหัวใจ ควรเป็นอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงอาหารทอด และอาหารแปรรูป ก็ยังช่วยให้ลดการบริโรคไขมัน และไขมันทรานส์ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจได้ในทางอ้อมด้วย 

ทั้งนี้ AHA แนะนำอาหารที่เหมาะสมคือ ปลา ธัญพืช และพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีไขมันดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย 

3. ระวังเรื่องน้ำหนักตัว 

ความอ้วนเป็นอีกสาเหตุของโรคหัวใจ และผู้ป่วยโรคอ้วนจะมาพร้อมกับโรคความดันโลหิตสูง และในร่างกายจะเต็มไปด้วยคลอเลสตอรอลชนิดไม่ดี หรือ LDL ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการนำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพของระบบหัวใจ 

ทั้งนี้ จากงานวิจัยพบว่าค่าดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 หน่วย จะมีความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 29% ดังนั้น การลดน้ำหนักจึงเพื่อรักษาสมดุลร่างกายให้เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก 

ผู้อำนวยการ AHA แนะนำว่า การลดน้ำหนัก ควรใช้ทั้งวิธีเลือกรับประทานอาหาร ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้การลดน้ำหนักมีผลต่อสุขภาพที่ดีมากขึ้นด้วย 

4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 

การออกกำลังกายระดับปานกลาง หรือไม่เข้มข้นมาก หากทำเป็นประจำจะช่วยลดความดันโลหิต และลด LDL และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ซึ่งมีผลต่อการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจทั้งหมด 

อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้มีการออกกำลังกายที่หนักเกินไป เพื่อที่จะลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจ แต่ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งกิจกรมอาจเป็นการแอโรบิก เดิน วิ่งจ็อกกิ้ง ว่ายน้ำ หรือยกดัมเบลน้ำหนักเบา ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้โดยไม่ต้องออกกำลังกายอย่างหนัก และหักโหม 
    
5. เลิกบุหรี่ 

เป็นที่รับรู้กันแล้วว่าบุหรี่นอกจากทำลายปอด ยังเข้าไปทำงานสุขภาพหัวใจด้วย เพราะสถิติผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ในช่วง 3 ปีหลัง พบว่าส่วนใหญ่เจอโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 

AHA ระบุว่า บุหรี่ส่งผลเสียต่อหัวใจอย่างมาก เพราะเข้าไปทำลายหลอดเลือดและเพิ่มการสะสมคราบจุลินทรีย์ ซึ่งทั้งสองปัจจัยคือการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจวายอย่างมีนัยสำคัญ 

AHA แนะนำว่าให้ค่อยๆ ลดปริมาณการสูบลงแทนที่จะใช้วิธีการหักดิบ เพราะจะทำให้การเลิกบุหรี่ได้ผลมากกว่า หรือแนะนำให้ใช้หมากฝรั่งนิโคตินช่วยลดอาการอยากบุหรี่ 

6. เลิกเครียด 

ความเครียดทางอารมณ์ที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ และนำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงที่จะมีโรคหัวใจอื่นๆ ตามมา 

ด้วยชีวิตประจำวันที่หลายคนอาจมีความเครียดสูง ทั้งจากการทำงาน การเรียน หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคมที่เพิ่มความเครียดทางอารมณ์และจิตใจ ทั้งหมดมีส่วนสำคัญต่อร่างกาย เพราะความเครียดสามารถเพิ่มความดันโลหิต เพิ่มความาเสี่ยงต่อภาวะการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ 

อย่างไรก็ตาม AHA ระบุว่า การขจัดความเครียดเป็นเรื่องยาก แต่ประเด็นสำคัญคือต้องพยายามหาช่วงเวลาที่จะพักจากความเครียดนนั้นได้ ทั้งกิจกรรมที่สงบ การทำสมาธิ หรือโยคะ รวมถึงการฝึกหายใจเข้าลึกๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยได้เพื่อทำให้หลุดออกมาจากความเครียด และเป็นการลดโอกาสเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจในอนาคต 

อ้างอิง :
https://www.healthline.com/health-news/simple-ways-to-reduce-your-risk-of-heart-disease