ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข้อเสนอต่อการพัฒนา ‘ระบบทดแทนไต’ จากเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ (Policy Dialogue) ครั้งที่ 3 หัวข้อ “สิ่งท้าทายและข้อเสนอระบบทดแทนไตของไทยในปัจจุบันและอนาคต” ก่อนนำไปสู่ผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตในปัจจุบันและอนาคต

1

"ในอนาคตเราอยากเห็นหน่วยบริการฟอกเลือด โดยเฉพาะจากภาคเอกชนให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคไตให้มีคุณภาพและมาตรฐานการบริการที่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด เพราะการคงมาตรฐานจะสะท้อนถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ไปรับบริการ"

ธนพล ดอกแก้ว
นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย

2

“สภาการพยาบาลพยายามปรับหลักสูตรการอบรมดูแลผู้ป่วยไตระยะสุดท้ายให้มีระยะเวลาที่สั้นลง เพื่อให้มีพยาบาลที่สามารถสลับสับเปลี่ยนกันไปดูแลผู้ป่วยโรคไตที่เข้ามาฟอกเลือดได้ แต่ตัวพยาบาลเองก็เข้าใจว่าภาระงานนี้หนักและต้องช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย ฉะนั้นภาครัฐควรมีรางวัล หรือแรงจูงใจสำหรับหน่วยบริการที่ดูแลผู้ป่วยได้ดีมีคุณภาพ รวมถึงยกระดับการดูแลผู้ป่วยได้ ก็จะช่วยให้ระบบเดินต่อไปได้"

สุชาดา บุญแก้ว
นายกสมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย

3

“การที่ผมบอกว่าจะเสนอว่าทุกคนต้องบริจาคไตหลังจากเสียชีวิตจนกว่าประเทศเราจะไม่ต้องบริจาคอีกต่อไปตัวผมเองก็ไม่ได้หวังความสำเร็จนะ แต่เป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนมาคุยกันว่าจะเอากับเรื่องนี้ไหม มันจะเป็นนโยบายได้ไหม คืออย่างน้อยให้เกิดการคุยกันมากขึ้นตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่งในปีสองปีข้างหน้าผมเชื่อว่าทางอ้อมจะทำให้คนหันมาบริจาคไตกันมากขึ้น

“การที่ผมบอกว่าจะเสนอว่าทุกคนต้องบริจาคไตหลังจากเสียชีวิตจนกว่าประเทศเราจะไม่ต้องบริจาคอีกต่อไปตัวผมเองก็ไม่ได้หวังความสำเร็จนะ แต่เป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนมาคุยกันว่าจะเอากับเรื่องนี้ไหม แล้วจะทำให้สังคมคุยกันว่าเราจะช่วยกันไหม ถ้าไม่ช่วยไม่เป็นไร แต่ได้คุยกัน คนจะได้มานั่งคิดว่าเรื่องนี้สำคัญ มีคนล้างไตเป็นแสนๆ แล้วไม่มีคนบริจาคไตทำยังไง มันจะเป็นนโยบายได้ไหม คืออย่างน้อยให้เกิดการคุยกันในปีสองปีข้างหน้า ผมเชื่อว่าทางอ้อมจะทำให้คนหันมาบริจาคไตกันมากขึ้น”

ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์
นักวิชาการด้านนโยบายสุขภาพ

2

“ต้องให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงข้อมูลการรักษาและเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสมด้วยตัวเองผ่านการพิจารณาร่วมกันกับแพทย์ เพื่อให้เกิดการแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคไตให้มากขึ้นในหมู่ผู้ป่วยด้วยกันเอง ขณะเดียวกันก็อาจมีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากอายุรแพทย์โรคไตไปสู่อายุรแพทย์ทั่วไปไม่เช่นนั้น ภาระงานทั้งหมดจะมาอยู่กับอายุรแพทย์โรคไตอย่างเดียว ซึ่งในระยะยาวอาจทำให้ระบบไม่มีความยั่งยืน

“ต้องให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงข้อมูลการรักษา และเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสมด้วยตัวเองผ่านการพิจารณาร่วมกันกับแพทย์อย่างครบถ้วน เพื่อให้เกิดการแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคไตให้มากขึ้นในหมู่ผู้ป่วยด้วยกันเอง ขณะเดียวกันก็อาจมีรูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้

“ขณะเดียวกันก็อาจมีรูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการวินิจฉัยหรือพิจารณาแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ด้วยการล้างไตผ่านทางช่องท้อง จากอายุรแพทย์โรคไตไปสู่อายุรแพทย์ทั่วไป เพื่อให้เพิ่มกำลังบุคลากรให้ทันต่อจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ไม่เช่นนั้น ภาระงานทั้งหมดจะมาอยู่กับอายุรแพทย์โรคไตอย่างเดียว ซึ่งในระยะยาวอาจทำให้ระบบไม่มีความยั่งยืน”

พญ.ปิยะธิดา จึงสนาม
อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)

3

“สิ่งสำคัญในเรื่องนี้คือ ต้องหาทางป้องกันตั้งแต่ต้นทางก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการบำบัดทดแทนไต ซึ่งสิ่งนี้จะตอบโจทย์ปัญหาทั้งเรื่องการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคไต การควบคุมคุณภาพของหน่วยไตเทียมที่เพิ่มมากขึ้น และการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในด้านนี้ได้ เพราะถ้าไม่สามารถระงับที่ต้นน้ำได้ปริมาณผู้ป่วยและจำนวนหน่วยบริการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ”

พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์
อดีตนายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย

2

“ปีๆ หนึ่งไทยผลิตอายุรแพทย์โรคไตได้เพียงประมาณ 50 คน ส่วนศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ หรือศัลยแพทย์ทั่วไปนั้นมีอัตราการผลิตน้อยกว่าอายุรแพทย์โรคไต และไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย ดังนั้นราชวิทยาลัย หรือสมาคมต่างๆ จึงต้องทราบในข้อเท็จจริงนี้ และเร่งผลิตบุคลากรกลุ่มนี้ให้มากขึ้น ไม่งั้นจำนวนที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ในอนาคต”

รศ.นพ.ชลธิป พงศ์สกุล
นายกสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย