ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ปัญหาสุขภาพในช่องปาก ถือเป็น “ภัยเงียบ” ที่บ่อนทำลายสุขภาพและคุณภาพชีวิต

พญ.มาเรีย ไรอัน รองประธานบริษัทคอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (Colgate-Palmolive) ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าในยี่ห้อคอลเกต แสดงความเห็นผ่านบทความบนเว็บไซต์ World Economic Forum ว่า

แม้โรคในช่องปากส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคร้ายแรง แต่ข้อมูลการสำรวจพบว่า ผู้คนส่วนมากซึ่งไม่แบ่งแยกระดับการศึกษาและรายได้ ไม่ทราบถึงผลกระทบจากโรคในช่องปาก อันส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ในภาพรวม

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า มีประชากรในโลกมากกว่า 3,500 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคในช่องปาก โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 ล้านคนในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา สะท้อนว่าโรคนี้ไม่ได้รับความสนใจจากคนโดยทั่วไป รวมทั้งจากรัฐบาลและผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์

ฝันผุ โรคในช่องปากที่พบได้มากที่สุด โดยมีผู้คนมากกว่า 2,300 ล้านคนประสบปัญหาฟันผุหรือฟันเสื่อมโทรม

ขณะที่โรคเหงือกอักเสบสร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของ 20-50% ของประชากรโลก ทั้งยังเป็น “ภัยเงียบ” ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตหลายด้าน เช่น ปัญหาการเคี้ยวอาหาร ความสวยงาม และความมั่นใจ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องต่อปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะความกังวลและความอับอาย

นอกจากนี้ ยังพบว่าการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก อาจสามารถนำไปสู่การติดเชื้อในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน และหลอดเลือดสมอง

2

ในกลุ่มเด็ก พบว่ามีเด็กมากกว่า 514 ล้านคนมีอาการฟันน้ำนมผุ ประมาณการณ์ว่าเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมักขาดเรียนเฉลี่ย 3 วันต่อปีในการเข้ารับการรักษา รวมเป็น 34 ล้านชั่วโมงต่อปีสำหรับเด็กนักเรียนในสหรัฐอเมริกา ทั้งยังกระทบผลการเรียนและการเข้าสังคมอีกด้วย

พญ.ไรอัน แนะนำว่า สุขภาพในช่องปากสามารถปรับปรุงได้หากมีความรู้ที่ถูกต้อง ได้แก่

1. แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 นาทีต่อครั้ง ซึ่งได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกว่าเป็นวิธีการดูแลสุขภาพปากที่มีประสิทธิภาพที่สุด

ควรใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ซึ่งช่วยป้องกันฟันผุได้ดี ทำความสะอาดลิ้นด้วยแปรงสีฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และยาบ้วนปากเป็นประจำ

2. แปรงฟันก่อนนอนมีความจำเป็นเช่นกัน เพื่อขจัดแบคทีเรียกที่สร้างกรดทำลายเนื้อฟันและเหงือกในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งเป็นช่วงที่สภาพช่องปากมีน้ำลายน้อย ส่งผลให้กลไกการป้องกันฟันผุลดลง

3. ตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน เพื่อรับการดูแลทันตแพทย์ ไม่ว่าจะป็นการทำความสะอาดช่องปากที่ลึกขึ้น รักษาโรคก่อนที่จะสายเกินไป และป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคใหม่

4. รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลน้อย เพราะน้ำตาลเป็นสารที่แบคทีเรียใช้สร้างกรดทำลายเนื้อฟัน รวมทั้งเลิกละบุหรี่ ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหงือก

3

นอกจากนี้ พญ.ไรอัน ยังแนะนำให้เชื่อมสะพานระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านทันตกรรมและการแพทย์ ซึ่งมักทำงานแยกส่วน ส่งผลให้โรคทางช่องปากไม่ได้รับความสนใจในระบบสุขภาพเท่าที่ควร

นอกจากนี้ ผู้นำทั่วโลกควรเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมในการรักษาสุขภาพทางช่องปาก

ในระดับชุมชน ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และพยาบาลต้องมีเครื่องมือช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพในช่องปาก รวมทั้งได้รับการอบรมการดูแลร่างกายเป็นองค์รวม และเสาะหาความร่วมมือในการผลักดันให้สุขภาพในช่องปากเป็นวาระระดับโลก

ในระดับนโยบาย ต้องให้ความสำคัญกับนโยบายส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก โดยเข้าใจว่าปัญหาสุขภาพในช่องปากส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจ และลงทุนกับเทคโนโลยีและงานวิจัยที่เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลช่องปาก

 

อ่านข่าวต้นฉบับที่
https://www.weforum.org/agenda/2023/04/world-health-day-why-oral-health-is-critical-to-your-overall-health-and-wellbeing/