ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ความกังวลต่อการเข้าถึงสิทธิสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) ของกลุ่มประชากรที่อยู่นอกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) กำลังจะได้รับการคลี่คลายอย่างยั่งยืน

ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2565 ซึ่งเป็นการประชุม ครม.นัดสุดท้ายก่อนยุบสภา มีมติ ‘เห็นชอบในหลักการ’ ร่างพระราชกฤษฎีกา 4 ฉบับ ที่กำหนดให้ผู้ที่ไม่ได้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และบริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้

มติ ครม.ดังกล่าว สอดคล้องกับความห่วงใยและข้อเสนอของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 10 มี.ค. 2566 เรื่อง ข้อเสนอแนะมาตรการคุ้มครองสิทธิรับบริการสาธารณสุขเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ถึง พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอให้ ครม. แก้ปัญหานี้โดยให้มีผลปฏิบัติอย่างเร่งด่วน

1

เพราะในมุมมองของ กสม.แล้ว การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคช่วยลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ และลดภาระงบประมาณของประเทศในการดูแลรักษาพยาบาลให้แก่ประชาชน ซึ่ง พ.รบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และรัฐธรรมนูญ ได้รับรองสิทธิให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐอย่างทั่วถึง

“การที่หน่วยบริการไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายของผู้ที่อยู่นอกสิทธิบัตรทองจากงบประมาณสร้างเสริมสุขภาพฯ ของ สปสช.ซึ่งเป็นปัญหาเกิดขึ้นมานานกว่า 5 เดือน และเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนบางกลุ่มที่ต้องได้รับบริการต่อเนื่องนั้น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 47 และมาตรา 55 รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและรัฐมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับสิทธิที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้” นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุ

2

อนึ่ง ประเด็นดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้มีมติเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ให้ ‘ชะลอการจัดสรรงบประมาณ’ ด้าน P&P ตลอดจนการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (PP-HIV) การดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

ต่อมา รมว.สาธารณสุข (สธ.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นผลให้ สปสช. ดูแลได้เฉพาะผู้ใช้สิทธิบัตรทอง

ส่วนผู้ที่อยู่นอกสิทธิบัตรทอง อันได้แก่ ข้าราชการ พนักงานของรัฐ และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ของกฎหมายประกันสังคม ประมาณ 18 ล้านคน จะไม่สามารถเบิกจ่ายเงินค่าบริการสร้าง

“เป็นที่น่ายินดีที่ ครม. ตอบรับข้อเสนอ และลงมาช่วยแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยขจัดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขด้านการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค อย่างไรก็ตาม อยากฝากเรื่องการเยียวยาและชดเชยเงินให้กับหน่วยบริการสุขภาพที่ได้สำรองเงินไปก่อนด้วย” นายวสันต์ ระบุ