ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

คณะผู้ประชุมรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล หรือ PMAC หลากหลายประเทศ ลงพื้นที่ จ.น่าน เยี่ยมชมการเชื่อมโยงงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับสุขภาพจากการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ พร้อมดูงานชุมชนบ้านน้ำเกี๋ยน ยกระดับคนในชุมชนผ่านสมุนไพร ส่งผลให้มีสุขภาพดี มีรายได้เพิ่มขึ้น 


เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 คณะตัวแทนจากหลากหลายองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ที่เข้าร่วมประชุมวิชาการรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล (Prince Mahidol Award Conference) หรือ PMAC ประจำปี 2566 ลงพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อเยี่ยมชมการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของพื้นที่ และยังเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่ควบคู่ไปพร้อมกับการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยใช้สมุนไพรเป็นฐานในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดน่าน ให้มีทั้งสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น และมีรายได้จากการปลูก เก็บสมุนไพร ที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ โดยรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนชีววิถี ซึ่งมีผลงานประจักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้มีคณะของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นำโดย ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้าร่วมเยี่ยมชมด้วย 

2

ทั้งนี้ คณะตัวแทนองค์กรที่เข้าร่วมประชุม PMAC เมื่อเดินทางมาถึงได้รับการต้อนรับจาก นายบัณฑูร ล่ำซำ ในฐานะประชาชนจังหวัดน่าน และพาเที่ยมชมวัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง "ปู่ม่าน ย่าม่าน" หรือภาพกระซิบบอกรัก ที่เป็นภาพสัญลักษณ์ของจังหวัด และยังมีพระอุโบสถทรงจตุรมุขที่มีบันไดนาคทั้งสี่ทิศ ข้างในประดิษฐานพระประธานจตุรพักตร์ 4 ด้าน ซึ่งนายบัณฑูร ได้บรรยายความสำคัญของวัด ภาพจิตกรรมต่างๆ ให้กับคณะผู้เข้าร่วมได้เข้าใจรายละเอียดมากขึ้น 

ต่อมา คณะตัวแทนองค์กรที่เข้าร่วมประชุม PMAC ยังได้เข้าเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนชีววิถีตำบลบ้านเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ซึ่งมีสมาชิกจาก 5 หมู่บ้าน กว่า 750 คน รวม 250 หลังคาเรือน ที่ได้ร่วมกันนำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ผักเชียงดา ไพล เป็นต้น นำมาเป็นวัตถุดิบที่ปราศจากสารเคมีในการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร 35 รายการ และยังผลิตเครื่องสำอางสมุนไพร จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และยังสร้างงานให้กับคนในพื้นที่อีกนับร้อยตำแหน่ง โดยเป็นการขับเคลื่อนร่วมกันของชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านน้ำเกี๋ยน ซึ่งดำเนินการมากว่า 17 ปี และสร้างมูลค่าให้ชุมชนกว่า 30 ล้านบาท 

2

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประชาชนจังหวัดน่าน เปิดเผยว่า ในฐานะประชาชนคนหนึ่งของจังหวัดน่าน ที่เห็นโจทย์สำคัญร่วมกันกับคนในพื้นที่ในการช่วยกันแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณสุข จึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการได้ช่วยเหลือ สนับสนุน ให้เกิดการพัฒนาโดยเฉพาะการจัดการรป่าต้นน้ำ การสาธารณสุข และการทำมาหากินของผู้คน ให้มีโอกาสที่จะยกระดับรายได้ และมีสุขภาพที่ดีซึ่งเชื่อมโยงไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แม้ว่าจังหวัดน่านจะเป็นพื้นที่ห่างไกลก็ตาม

"ความยากลำบากของผู้คนยังมีอยู่ทั่วไป แต่เป็นโจทย์สำคัญของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข และภาคประชาชน ที่ต้องเข้ามายกระดับของปัญหา และร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาระหว่างกัน" นายบัณฑูร กล่าว 

4

Ms.Soukeyna Sylla ตัวแทนจาก Global Fund UN ที่ร่วมคณะลงพื้นที่จังหวัดน่าน กล่าวว่า จากประสบการ์ทำงานทำให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มีส่วนเชื่อมโยงและมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน ซึ่งในพื้นที่จังหวัดน่าน นับได้ว่าเป็นตัวอย่างของความสำเร็จ ที่ชุมชนบ้านน้ำเกี๋ยนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนด้วยการใช้สมุนไพร ที่เป็นวัตถุดิบที่หาได้จากพื้นที่อย่างมีองค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับชุมชน และยังมีการจำหน่ายทำให้สร้างรายได้เพิ่มเติม

"ความสำเร็จของชุมชนบ้านน้ำเกี๋ยน เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ที่สุด และมีความสำคัญอย่างมากต่อการนำไปเผยแพร่ต่อ เพื่อให้นานาประเทศได้เห็นถึงความเข้มแข็งของชุมชน ที่เชื่อมโยงไปถึงการอนุรักษ์พื้นที่ป่า สิ่งแวดล้อม และยังเชื่อมมายังเรื่องสุขภาพ พร้อมทั้งเป็นการยกระดับรายได้ด้วย อีกทั้ง ยังทำให้อยากนำองค์ความรู้ และประสบการณ์จากจังหวัดน่าน ไปปรับหรือประยุกต์ใช้กับประเทศบ้านเกิดที่ศรีลังกาด้วย เพราะมีสถานการณ์คล้ายกัน" Ms.Sylla กล่าว 

5

ด้าน ทพ.อรรถพร กล่าวว่า การประชุมวิชาการรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล หรือ PMAC เป็นการเชิญบุคลากรที่สำคัญจากหลายแวดวงทั่วโลก โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขได้เข้าร่วมประชุมประชุมเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2566 มีธีมสำคัญของการรประชุมคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่เชื่อมโยกับสุขภาพ 

อีกทั้งยังมีความพิเศษมากขึ้น เพราะมีคณะผู้เข้าร่วมประชุมบางส่วนต้องการลงพื้นที่จังหวัดน่านเพื่อเยี่ยมชมการดำเนินการขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม ที่เชื่อมโยงเรื่องสาธารณสุข และยังเป็นจุดเชื่อมต่อที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างรายได้ให้กับคนจังหวัดน่าน ผ่านการใช้สมุนไพรจากพื้นที่ป่า การปลูกสมุนไพรที่ไม่ใช่สารเคมี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นทั้งการอนุรักษ์ผืนป่า การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และยังส่งผลต่อเรื่องสุขภาพ ซึ่งเป็นประเด็นที่คณะผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจ 

"ที่ชุมชนบ้านน้ำเกี๋ยนมีการอนุรักษ์พื้นที่ พร้อมไปกับการทำการเกษตรที่ไมใช่สารเคมี ซึ่งสำคัญอย่างมากเพราะแต่ละปีจะมีผู้ป่วยที่ได้รับสารเคมีจากการทำเกษตรมากแต่ละปีถึง 3,000 คน และต้องเสียชีวิตเฉลี่ยปีละกว่า 500 คน อีกทั้ง สารเคมีทางการเกษตรยังไหลลงสู่ลำน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำน่านที่มีประชาชนกว่า 40% ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจจะมีผกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเช่นกัน" ทพ.อรรถพร กล่าว

 

5

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  
1.สายด่วน สปสช. 1330 
2.ช่องทางออนไลน์
• ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ