ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

โฆษกประกันสังคม ยืนยัน ผู้ประกันตนได้รับสิทธิทันกรรมไม่ด้อยกว่ากองทุนอื่น ย้ำจุดแข็ง สามารถรับบริการในสถานบริการที่นอกเหนือรัฐได้ และไม่มีการจำกัดวัสดุอุดฟันเหมือนกองทุนอื่น


นางนิยดา เสนีย์มโนมัย โฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2565 โดยยืนยันว่า ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจะได้รับบริการสิทธิทันตกรรมไม่ด้อยกว่าสิทธิกองทุนอื่น (ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ : บัตรทอง, สวัสดิการข้าราชการ)

นางนิยดา กล่าวว่า ปัจจุบัน สปส.ได้พัฒนารูปแบบการให้บริการสิทธิทันตกรรมแก่ผู้ประกันตนให้สามารถเข้ารับบริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุดในอัตรา 900 บาทต่อคนต่อปี กรณีใส่ฟันเทียม สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้ตั้งแต่ 1,300-4,400 บาท สามารถเข้ารับบริการทั้งในสถานพยาบาลรัฐบาล จำนวน 1.2 หมื่นแห่ง และสถานพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรมเอกชน จำนวน 3,376 แห่ง

“ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ตลอดจนสามารถเลือกรับบริการคลินิกทันตกรรมใกล้บ้านได้ ในขณะที่กองทุนสุขภาพอื่นยังจำกัดการให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐเท่านั้น ส่วนกรณีการใส่ฟันปลอมในระบบประกันสังคมสามารถเบิกค่าฟันเทียมโดยไม่จำกัดวัสดุขณะที่กองทุนสุขภาพอื่นยังคงจำกัดวัสดุฟันเทียมเป็นวัสดุประเภทอะคริลิคเท่านั้น” นางนิยดา กล่าว

นอกจากนี้ ผู้ประกันตนยังสามารถเข้ารับบริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด ในสถานพยาบาลตามสิทธิ โดยสามารถเบิกได้ในอัตรา 900 บาทต่อคนต่อปี หากสถานพยาบาลตามสิทธิทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับ สปส. ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่ายกรณีสถานพยาบาลตามสิทธิไม่ได้ทำเอ็มโอยู ผู้ประกันตนสามารถนำใบเสร็จมาเบิกกับ สปส.ได้

นางนิยดา กล่าวว่า สำหรับในกรณีผู้ประกันตนประสบอุบัติเหตุ เกิดบาดแผลในช่องปากและกระทบต่อฟัน เช่น ฟันหัก ถือเป็นกรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สปส.จัดบริการทางการแพทย์ให้กับผู้ประกันตนโดยคำนึงถึงปัจจัยความจำเป็นของผู้ประกันตนที่ไม่สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ในเวลาราชการ ดังนั้นจึงได้ออกแบบระบบการให้บริการที่ให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงการบริการทันตกรรมได้อย่างสะดวก โดยไม่กระทบเวลาการทำงาน

"การกำหนดอัตราค่าบริการทางการแพทย์ คณะกรรมการการแพทย์ได้พิจารณาถึงอัตราการใช้บริการและอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม และอ้างอิงกับราคาของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อย่างไรก็ดี การให้สิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรม แบบเหมาจ่าย สปส.ได้คำนึงถึงการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ และการให้บริการสิทธิทันตกรรมของผู้ประกันตนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน" นางนิยดากล่าว

นางนิยดา กล่าวต่อว่า ในปี 2565 มีผู้เข้าถึงบริการทันตกรรมจำนวน 2,934,878 ครั้ง กรณีที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับ สปส. ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการโดยไม่ต้องสำรองจ่าย ทำให้การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้ประกันตน

2