ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เผยแพร่ใน JMA Journal: https://www.jmaj.jp/detail.php?id=10.31662%2Fjmaj.2018-0016

1. สถานการณ์ทั่วไป

1.1 ระบบบริหารราชการและสถานการณ์ทางการเงิน
ระบบบริหารราชการของญี่ปุ่นแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ รัฐบาลกลาง รัฐบาลจังหวัด (47 จังหวัด) และเทศบาล (1,718 แห่ง) รัฐบาลกลางทำหน้าที่ออกแนวทางนโยบายสาธารณสุข แล้วส่งต่อการปฏิบัติงานให้รัฐบาลท้องถิ่น เทศบาลทำหน้าที่ดูแลสุขภาพปฐมภูมิและการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ขณะที่หน่วยงานระดับจังหวัดทำหน้าที่ประสานงานระหว่างเทศบาล เพื่อให้การทำนโยบายสุขภาพเป็นไปอย่างราบรื่น

ในด้านสถานการณ์ทางการเงิน จำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลง ทำให้รายได้จากภาษีของเทศบาลขนาดเล็กลดลงตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา จึงขาดเงินทุนทำโครงการประกันสุขภาพในระดับชุมชน รัฐบาลระดับจังหวัดจึงต้องเข้ามาอุ้มภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของเทศบาล

1

1.2. ลักษณะประชากร
จำนวนประชากรในญี่ปุ่นเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการคาดการณ์ว่าจะมีอัตราส่วนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นอัตราส่วน 30.5% ของประชากรทั้งหมดในปี 2025 นั่นหมายความว่าจะมีความต้องการการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น

ในปี 2000 รัฐบาลริเริ่มโครงการประกันสุขภาพระยะยาว หรือ Long-Term Care Insurance (LTCI) เพื่อรับมือกับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต

1.3 สถานการณ์สุขภาพ
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีสุขภาพดีที่สุดในโลก ด้วยปัจจัยหลายข้อ เช่น การเข้าถึงสารอาหารและระบบสุขภาพ มีอัตราส่วนอุบัติเหตุและเหตุการณ์รุนแรงต่ำ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ปี 1961 ทำให้ชาวญี่ปุ่นสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น

อย่างไรก็ดี ลักษณะการเป็นโรคของชาวญี่ปุ่นได้เปลี่ยนไปจากอดีต แต่เดิมผู้คนมีปัญหากับโรคเฉียบพลันและเรื้อรังบางประเภท ปัจจุบันโรคมะเร็ง หัวใจ และหลอดเลือดสมอง เป็นปัจจัยการเสียชีวิตสูงที่สุด คิดเป็นประมาณ 60% ของการเสียชีวิตในประเทศ

Table 2. Chronological Changes of Health Indicators, Selected Years.

Indicators

1970

1990

2000

2010

2016

Age adjusted mortality rate (per 1,000 population)

 

 

 

 

 

Male

12.3

7.5

6.3

5.4

4.9*

Female

8.2

4.2

3.2

2.7

2.5*

Death rate of top 4 causes (per 100,000 population)

 

 

 

 

 

Malignancy

116.3

177.2

235.2

279.7

298.2

Cerebro-vascular diseases

175.8

99.4

105.5

97.7

87.4

Heart diseases

86.7

134.8

116.8

149.8

158.2

Pneumonia

27.1

55.6

69.2

94.1

95.3

Neonatal mortality rate (per 1,000 live births)

8.7

2.5

1.8

1.1

0.9

Infant mortaloty rate (per 1,000 live births)

13.1

4.6

3.3

2.4

2.0

Maternal mortality rate (per 100,000 births)

48.7

14.0

10.0

6.0

5.0

Life expectance at birth

 

 

 

 

 

Male

69.3

75.9

77.7

79.6

79.9

Female

74.7

81.8

84.6

86.3

86.3

*: 2015

Sources: Statistics Bureau Ministry of Internal Affairs and Communication, 2017

 

 

 

 

 

2. ระบบสุขภาพ

2.1 ระบบประกันสุขภาพ
พลเมืองญี่ปุ่นทุกคนมีประกันสุขภาพตามสถานะการจ้างงาน ที่อยู่ และอายุ โดยมีประกันสุขภาพมากกว่า 1,000 ประเภท แต่ทุกประเภทอยู่ภายใต้กรอบนโยบายของรัฐบาลกลาง ผู้ประกันตนร่วมจ่ายสมทบกองทุนประกันสุขภาพในอัตราที่แตกต่างกันออกไป

สามารถแบ่งประกันสุขภาพเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

● ประกันสุขภาพภายใต้การจ้างงาน (Employees’ Health Insurance scheme: EHI) พนักงานและผู้ว่าจ้างร่วมจ่ายเป็นอัตราส่วน 10-13% ของรายได้พนักงาน

● ประกันสุขภาพสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร และบุคคลวัยเกษียณ (National Health Insurance scheme: NHI) อัตราการสบทบขึ้นอยู่กับการกำหนดของรัฐบาลท้องถิ่น ขณะที่รัฐบาลกลางให้เงินอุดหนุนโครงการที่ 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

● ประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ (Late-Stage Medical Care Scheme) ผู้ประกันตนร่วมจ่าย 10% รัฐบาลให้เงินอุดหนุนอีก 50% และภาษีจากคนวัยทำงานอีก 40%

ผู้ประกันตนต้องร่วมจ่ายค่าบริการสุขภาพ ณ จุดรับบริการ อัตราร่วมจ่ายขึ้นอยู่กับรายได้ อายุ และความถี่ในการใช้บริการ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30% ของค่าบริการสำหรับวัยแรงงาน และ 20% สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี และผู้สูงอายุ 75 ปีขึ้นไป

1

2.2 ระบบเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

สถานพยาบาลเกือบทุกแห่งในญี่ปุ่นเบิกค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานประกันสุขภาพ ใช้วิธีการเบิกจ่ายแบบ Tariff Schedule ซึ่งกำหนดอัตราการเบิกจ่ายตามข้อตกลงของสมาชิกในสภาประกันสุขภาพและสังคมกลาง หรือ Central Social Medical Insurance Council (CSMIC) ประกอบด้วยตัวแทนจากผู้ประกันตน ผู้ให้บริการ และกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการสังคม การกำหนดอัตราการเบิกจ่ายจะมีการเจรจาระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในทุก 2 ปี ผ่านระบบการรับฟังความเห็นของสภา

2.3 ทรัพยากรด้านสุขภาพและระบบการให้บริการ

ในปี 2018 ญี่ปุ่นมีโรงพยาบาล 8,389 แห่ง คลินิก 101,860 แห่ง และคลินิกทันตกรรม 68,756 แห่ง 80% ของสถานพยาบาลดำเนินการโดยเอกชน

ในปี 2014 อัตราส่วนหมอ พยาบาล และเภสัชกร คิดเป็น 2.45, 11.61 และ 2.27 คนต่อประชากร 1,000 คนตามลำดับ ญี่ปุ่นมีความหนาแน่นของเภสัชกรมากกว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มประเทศ OECD แต่มีจำนวนหมอเป็นอัตราส่วนที่น้อยกว่า

จำนวนการเข้ารับบริการผู้ป่วยนอกในญี่ปุ่นอยู่ที่ 12.8 ต่อครั้ง/คน/ปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD อื่นๆ ส่วนหนึ่งเพราะการตั้งคลินิกในญี่ปุ่นสามารถทำได้อย่างเสรี และผู้ป่วยมีประกันสุขภาพ จึงเข้าถึงบริการได้ง่าย

Table 3. Health Care Workers per 1000 Population in Different OECD Countries.

Indicators

Japan*

USA**

France**

Germany**

UK**

Practicing Physicians

2.4

2.6

3.3

4.1

2.8

Practicing Dentists

0.8

 

0.6

0.9

0.5

Practicing Pharmacists

1.7

 

1.1

0.6

0.8

Practicing Nurses

11.0

11.3

9.9

13.3

7.9

*: 2014, **: 2015

Sources: OECD Heath Statistics 2017

 

 

 

 

 

 

Table 4. Hospital Care Output in Different OECD Countries.

Indicators

Japan

USA

France

Germany

UK

Hospital beds per 1000 population

13.2*

2.8**

6.1*

8.1*

2.6***

Average length of stay (curative care ward)

16.5

6.1

10.1

9.0

7.0

*: 2015, **: 2014, ***: 2016

Sources: OECD Heath Statistics 2017

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ดี ยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการกระจายทรัพยากรสาธารณสุขระหว่างพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลพยายามจูงใจให้แพทย์ไปอยู่ในชนบท ด้วยการให้นักเรียนในชนบทสามารถเลือกเรียนโรงเรียนแพทย์ตามที่ตนชอบ แทนที่จะใช้คะแนนสอบตัดสินเพียงอย่างเดียว

ความเหลื่อมล้ำยังเห็นได้จากจำนวนแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งมีจำนวนแตกต่างกันไปตามสาขา ขึ้นอยู่กับการเลือกของแพทย์ แต่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด

2.4 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2014 ค่าใช้จ่ายสุขภาพประเทศอยู่ที่ 361,100 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2,842 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อหัวประชากร คิดเป็น 10.9% ของจีดีพี สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลางของประเทศกลุ่ม OECD ประมาณ 2%

ค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพหลักๆ ได้แก่ ผู้ป่วยใน 37.4%, ผู้ป่วยนอก 34.3%, ค่ายา 17.9%, บริการทันตกรรม 6.8%, ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน 2% และค่าดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน 0.3% นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของผู้สุงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปีเดียวกัน คิดเป็น 35.4% ของค่าใช้จ่ายสุขภาพประเทศ สะท้อนภาระค่าใช้จ่ายสุขภาพและต้นทุนที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

3. ความท้าทายต่อการปฏิรูประบบสุขภาพ

3.1 ความตระหนักของประชาชนต่อระบบสวัสดิการทางสังคม

จำนวนพลเมืองชาวญี่ปุ่นที่ไม่จ่ายสมทบเข้ากองทุนบำนาญเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่อายุ 30-39 ปี ซึ่งมีอัตราส่วนน้อยกว่า 60% ที่จ่ายเงินสมทบในปี 2015 เหตุผลหนึ่งคือความเชื่อว่าบำนาญของภาคเอกชนให้ผลตอบแทนดีกว่ากองทุนบำนาญของรัฐบาล ซึ่งอาจนำมาสู่ปัญหาความยั่งยืนของระบบสวัสดิการญี่ปุ่นที่วางอยู่บนแนวคิดเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข

เพื่อแก้ปัญหานี้ กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการสังคม ได้ผลิตสื่อการเรียนการสอนเรื่องสวัสดิการสังคมให้กับนักเรียนระดับมัธยมต้นและปลาย แต่ยังไม่ประสบผลมากนัก ยังมีความจำเป็นต้องสร้างความตระหนักของสาธารณะในการสนับสนุนระบบสวัสดิการสังคม

3.2 ความโปร่งใสและคุณภาพบริการ

เพื่อผลักดันการปฏิรูปสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการสังคม พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลสุขภาพ โดยใช้ระบบฐานข้อมูล Diagnosis Procedure Combination (DPC) และ National Receipt Database (NDB) เพื่อสร้างระบบการเจรจาต่อรองบนฐานของการใช้ข้อมูล แทนที่จะใช้ระบบการขอความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพียงอย่างเดียว

ระบบข้อมูลรวบรวมข้อมูลของบุคคล โดยใช้ตัวเลขแทนบุคคลเพื่อปกปิดตัวตน ประกอบด้วยข้อมูลด้านสุขภาพ การวินิจฉัยโรค อายุ เพศ การเข้ารับบริการสุขภาพ เครื่องมือและยาที่ใช้ มีการบันทึกข้อมูลมากกว่า 1,700 ล้านชุดในแต่ละปี ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในระบบการเบิกจ่าย งานวิจัยเพื่อออกแบบนโยบายสุขภาพ และติดตามการให้บริการสุขภาพในระดับท้องถิ่น

3.3 การจัดการเรียนการสอนและอบรมด้านการแพทย์

การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุทำให้มีความต้องการแพทย์ทั่วไป ที่สามารถรักษาโรคเรื้อรังหลายประเภท ที่มักเกิดขึ้นพร้อมกันในผู้ป่วยสูงวัย แต่การศึกษาแพทย์ในญี่ปุ่นไม่ได้คำนึงถึงอุปสงค์และอุปทานของแพทย์ ทำให้มีแพทย์เชี่ยวชาญในบางสาขามากหรือน้อยเกินไป นักวิชาการได้เสนอให้การศึกษาแพทย์ให้ความสำคัญกับการรักษาโรคทั่วไป และสนับสนุนการอบรมความรู้เฉพาะด้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แพทย์มีความรู้ในหลายด้าน สามารถรับมือกับรูปแบบการเกิดโรคที่เปลี่ยนไป

2

3.4 การแบ่งเบาภาระระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย

การเปลี่ยนโครงสร้างในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะลักษณะโรคและประชากร ทำให้ญี่ปุ่นต้องคำนึงถึงการปรับโครงสร้างระบบการเงินการคลังสำหรับระบบประกันสุขภาพและการให้บริการ

ในปี 2006 รัฐบาลผ่าน พ.ร.บ.ปฏิรูปโครงสร้างระบบสุขภาพ (Healthcare Structural Reform Package Act) ซึ่งควบรวมแนวทางการปฏิรูประบบให้บริการสุขภาพและระบบประกันสุขภาพไปพร้อมๆ กัน ตามด้วยการริเริ่มโครงการประกันสุขภาพผู้สูงอายุ หรือ Late-stage Medical Care System for the Elderly ในปี 2008 เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ รัฐบาลผ่าน พ.ร.บ.ความมั่นคงด้านการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุ (Securing Medical Care for the Elderly Act) ซึ่งส่งผ่านความรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุจากเทศบาล ไปยังรัฐบาลระดับจังหวัด ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกำกับรายจ่ายด้านสุขภาพ และต้องทำแผนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพระดับจังหวัดอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการให้บริการสุขภาพ เพราะแผนการต่างๆเน้นไปที่การจัดการจำนวนเตียงผู้ป่วย แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีสุขภาพ ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการเพิ่มคุณภาพการให้บริการและการลดต้นทุน

ในด้านการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เป็นความท้าทายใหญ่ของญี่ปุ่นภายใต้บริบทสังคมผู้สูงอายุ นักวิชากรเสนอว่าสามารถทำได้ 2 ทาง คือ 1) ลดต้นทุนด้วยการจำกัดสิทธิประโยชน์ ลดการเบิกจ่าย หรือลดการใช้ยาเกินความจำเป็น 2) เพิ่มภาษีเพื่อเพิ่มทรัพยากรทางการเงิน หรือเพิ่มจำนวนเงินสมทบของผู้ประกันตน ในปี 2014 รัฐบาลขึ้นภาษีการบริโภคจาก 5% เป็น 8% แทนที่จะเป็น 10% ตามที่เสนอในเบื้องต้น เพราะกังวลต่อผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่จะตามมา อย่างไรก็ตาม ภาษีการบริโภคในญี่ปุ่นยังถือว่าต่ำกว่าประเทศพัฒนาอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส (19.6%) และเยอรมนี (19%)

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอให้เพิ่มขนาดแรงงาน เพื่อเพิ่มรายได้จากภาษีในอนาคต นั่นหมายความว่าต้องทำให้ผู้สูงอายุยังสามารถทำงานภายหลังเกษียณอายุ ระบบสุขภาพจึงต้องส่งเสริมการมีสุขภาพดีของประชากรในทุกช่วงวัย ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มรับแรงงานข้ามชาติมากขึ้น จึงต้องพิจารณาการประกันสุขภาพ และเก็บเงินสมทบจากแรงงานกลุ่มนี้เช่นกัน