ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ย้อนกลับไปเกือบ 3 ปี ทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ปั่นป่วนระบบสาธารณสุข และวิถีชีวิตของประชาชนจนเกิดเป็น “วิถีชีวิตใหม่” หรือ New Normal ที่ถือเป็นคัมภีร์ปฏิบัติจนมาถึงทุกวันนี้

แม้จะช่วงหลังๆ จะปล่อยให้มวลมนุษยชาติได้พอหายใจได้บ้างแล้ว แต่ไม่ทันไรก็ต้องเจอกับ “ฝีดาษลิง” หรือ Monkeypox ที่มีแนวโน้มการระบาดที่เพิ่มมากขึ้นจนทำให้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องประกาศให้ “เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” ไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา ขณะเดียวกันประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงไปแล้ว 4 ราย

ทว่าเมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ผ่านมา ประเทศจีนพบติดเชื้อ “Langya Henipavirus” หรือ “ไวรัสเลย์วี” (LayV) ในมณฑลเหอหนาน และชานตง รวม 35 ราย หากสำรวจอาหารของผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพบว่ามีอาการไข้ อ่อนเพลีย อาเจียน และไอ สำหรับเชื้อดังกล่าวคาดว่าเป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คนอย่าง “หนูผี” แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานการแพร่จากคนสู่คน

ขณะเดียวกัน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนายการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย (ไบโอเทค) ก็ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Anan Jongkaewwattana” อธิบายถึงไวรัสดังกล่าวว่า ก่อนจะมีข่าวออกมานั้นทีมวิจัยในจีนได้ตีพิมพ์ผลงานในวารสารการแพทย์อย่าง “New England Journal of Medicine” โดยระบุว่าจากข้อมูลที่อยู่ในตอนนี้ไวรัสเลย์วีอยู่ในกลุ่ม “Paramyxovirus” ซึ่งมีไวรัสที่รู้จักกันในกลุ่มนี้ เช่น ไวรัสโรคหัด และไวรัสคางทูม

สำหรับไวรัสกลุ่มนี้มีไวรัสก่อโรครุนแรงอยู่ 2 ชนิด นั่นคือ “Nipah” และ “Hendra” ไวรัส ทำให้คนติดเชื้อได้สูง แต่ความรุนแรงยังทำให้การแพร่ยังอยู่ในวงจำกัดเนื่องจากโฮสต์เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกันประเทศจีนพบการติดเชื้อไวรัสเลย์วีในคนครั้งแรกตั้งแต่ปลายปี 2018 และพบต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน (ที่พบล่าสุด 35 ราย) ซึ่งข้อมูลสำคัญก็คือ “การระบาดไม่ได้เกิดเป็นกลุ่มก้อนหรือคลัสเตอร์” แต่เป็นการระบาดแบบกระจัดกระจาย นั่นทำให้เห็นว่าไวรัสสามารถติดจากสัตว์สู่คนได้ แต่แพร่กระจายจากคนสู่คนยังไม่ได้ หรือไม่ดี

อย่างไรก็ดี ไวรัสที่แยกได้จากผู้ป่วยมีรหัสพันธุกรรมมใกล้เคียงเป็นอย่างมากกับไวรัสที่แยกได้จาก “หนูผี” ทำให้เชื่อได้ว่าหนูผีน่าจะเป็นตัวกลางที่แพร่เชื้อดังกล่าวมาสู่คน แต่อาจะเป็นไปได้ว่าสัตว์ชนิดอื่นอาจจะเป็นแหล่งโรคของไวรัสนี้ได้เช่นกัน

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อเลย์วี อาจะมีอาการคล้านไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย บางรายอาจะมีการทำงานของตับและไตลดลง แต่ยังไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อหรือเสียชีวิต

“สรุปสั้นๆ คือไวรัส LayV ติดคนได้จากสัตว์ตัวกลาง ยังไม่มีหลักฐานการแพร่จากคนสู่คน อาการไม่รุนแรงมากยังไม่มีผู้เสียชีวิต”

นั่นทำให้บางคนเกิดถามตามมาว่า ไวรัสเลย์วีจะเป็นเหมือนโรควิด-19 หรือไม่ ?

ศ.ฟรานซิส บัลลูกซ์ อาจารย์ประจำคณะชีววิทยาเชิงคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ระบุว่าไวรัสเลย์วีนั้นยังไม่ปรากฎว่าจะซ้ำรอยโควิด-19 แต่อย่างใด และการติดจากคนสู่คนนั้นอาจจะไม่ง่าย แต่ขณะเดียวกันก็ย้ำเตือนว่าเชื้อโรคหลายตัวอาจจะยังอยู่ในสัตว์ที่มีศักยภาพที่สามารถติดเชื้อสู่คนได้

สอดคล้องกับ ศ.หวัง หลินฟา อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย (Duke-NUS) โรงเรียนแพทย์ในสิงคโปร์ หนึ่งในผู้ร่วมเขียนวิจัยลงใน New England Journal of Medicine ระบุว่าผู้ติดเชื้อไวรัสเลย์วีนั้นยังไม่เคยถึงขนาดเสียชีวิต หรืออาการรุนแรง และไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนก

ที่มา :
https://www.washingtonpost.com/health/2022/08/10/langya-virus-china-shrews-henipavirus/
https://www.theguardian.com/science/2022/aug/10/newly-identified-langya-virus-tracked-after-china-reports-dozens-of-cases
https://twitter.com/BallouxFrancois/status/1557095206528352259
https://www.facebook.com/anan.jongkaewwattana