ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ในทุกๆ 1 นาที มีเด็ก 8 คน ที่มีโอกาสอยู่รอดจากโรคร้าย เพราะได้รับวัคซีน

วัคซีนยังสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่คร่าชีวิตผู้คนในอดีต เช่น โรคโปลิโอ และไข้ทรพิษ จนกระทั่งโรคเหล่านี้ถูกกำจัดไปจากโลก

แนวคิดการสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยการนำเซลล์ของเชื้อโรค มากระตุ้นกระบวนการต้านเชื้อในร่างกายมนุษย์ เป็นแนวคิดที่พัฒนามาหลายศตวรรษ

ในช่วงทศวรรษที่ 2050 พบข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันว่า มนุษย์มีความพยายามสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองจากโรคไข้ทรพิษ ด้วยการน้ำเชื้อป้ายบริเวณผิวหนังที่ฉีกขาด

วิธีการดังกล่าวยังพบในประเทศจีนในช่วงกลางศตวรรษที่ 2200 มีบันทึกว่าสามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อไข้ทรพิษได้อย่างมีประสิทธิผล โดยมีผู้เสียชีวิตหลังการป้ายเชื้อเพียง 2% ของผู้ที่เข้าร่วมการทดลอง ขณะที่อีกประมาณ 30% ติดเชื้อ ที่เหลือสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคได้สำเร็จ วิธีการนี้ยังได้รับความสนใจในอเมริกาเหนือ และเผยแพร่ในประเทศตุรกี

ในปี 2339 นพ.เอ็ดวาร์ด เจนเจอร์ (Edward Jenner) อาศัยอยู่ในอังกฤษ ริเริ่มศึกษาวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังจากเขาพบแรงงานหญิงในฟาร์มเลี้ยงสัตว์สร้างภูมิคุ้มกันต่อไข้ทรพิษ ภายหลังพวกเธอรอดตายจากการติดเชื้อ

เขาจึงทดลองให้เชื้อแก่เด็กคนหนึ่ง พบว่าเด็กคนนี้ไม่มีอาการป่วยเมื่อสัมผัสเชื้อ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการใช้วัคซีนสมัยใหม่ในมนุษย์ เป็นที่มาของคำว่า “วัคซีน” มาจากคำว่าไข้ทรพิษในภาษาละติน “vaccinia”

ต่อมาในปี 2422 หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ค้นพบวัคซีนต้านโรคอหิวาต์ไก่ด้วยความบังเอิญ เมื่อเขาเผลอเปิดขวดบรรจุไวรัสอหิวาต์ทิ้งไว้เป็นเวลากว่า 1 เดือน เมื่อนำเชื้อในขวดนี้ฉีดให้ไก่ พบว่าไก่มีอาการป่วยเล็กน้อยหลังฉีด แล้วหายป่วยอย่างรวดเร็ว

ปาสเตอร์สรุปว่าเชื้อไวรัสน่าจะอ่อนแอลงหลังจากที่เปิดขวดทิ้งไว้ ไก่จึงสามารถรับเชื้อเข้าไปในร่างกายโดยไม่เสียชีวิต และสร้างภูมิคุ้มกันโรคขึ้นมา

ความบังเอิญในครั้งนั้นนำไปสู่แนวคิดการทำวัคซีนในห้องทดลอง ด้วยการลดความแข็งแรงของเชื้อไวรัสลง เพื่อนำเชื้อมาสร้างภูมิคุ้มกันให้มนุษย์

ปาสเตอร์เองได้คิดค้นวัคซีนต้านโรคแอนแทรกซ์และพิษสุนัขบ้าได้สำเร็จ ตามติดมาด้วย แพทย์ชาวสเปน เจมมี เฟอร์ราน (Jaime Ferrán) ซึ่งพัฒนาวัคซีนต้านเชื้ออหิวาต์ในมนุษย์จนสำเร็จในปี 2428 ขณะที่นักวิทยาศาตร์ชาวเยอรมันคิดต้นวัคซีนต้านไข้ไทฟอยด์ได้ในอีก 10 ปีต่อมา

เมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่ 20 กระบวนการคิดต้นวัคซีนก้าวหน้าอย่างมาก นักวิทยาศาสตร์สามารถคิดค้นวัคซีนต้านโรคสำคัญๆ เช่น วัณโรค คอตีบ บาดทะยัก และไอกรน

ในปี 2494 นักไวรัสวิทยาสัญชาติแอฟริกาใต้ แมกซ์ ไทเลอร์ (Max Theiler) ได้รับรางวัลโนเบลจากการคิดค้นวัคซีนต้านไข้เหลืองได้สำเร็จ 4 ปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาพัฒนาวัคซีนต้านโปลิโอ

เมื่อมีวัคซีน การขจัดโรคร้ายให้สิ้นซากไปจากโลกจึงไม่ใช่เรื่องเกินฝัน ในปี 2510 องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าหมายขจัดไข้ทรพิษให้หมดสิ้นภายใน 10 ปี และทำได้สำเร็จตามแผน โดยไม่พบผู้ป่วยไข้ทรพิษในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ปี 2513 และเอเชียใน 5 ปีต่อมา

ในปี 2520 อลี มาว มาลิน (Ali Maow Maalin) ชาวโซมาเลียในวัย 23 ปี ถูกบันทึกเป็นผู้ป่วยไข้ทรพิษคนสุดท้ายในโลก เขาได้รับวัคซีนและรอดชีวิต เมื่อเข้าสู่ปี 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าไข้ทรพิษหมดจากโลก

การพัฒนาวัคซีนถือได้ว่ามีความก้าวหน้าขั้นสุดในช่วงการระบาดของโรคโควิด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถย่นระยะเวลาการทดลองและคิดค้นวัคซีนเหลือเพียง 12 เดือน จากปกติที่ใช้เวลานานถึง 10-15 ปี

ความเร่งนี้ เป็นผลลัพธ์ของความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่สะสมผ่านการพัฒนาวัคซีนที่ผ่านมา รวมทั้งวัคซีนต้านเอชไอวี โรคเมอร์ และซารส์ ซึ่งใช้เทคโนโลยี RNA และสารสร้างพันธุกรรม กระตุ้นให้เซลล์สร้างโปรตีน ที่เพิ่มแอนติบอดีให้ร่างกายสู้กับเชื้อไวรัส

อย่างไรก็ดี ก็มีความท้าทายเกิดขึ้นระหว่างทาง โดยเฉพาะข่าวลวงที่ทำให้คนต่อต้านการฉีดวัคซีน ซึ่งเห็นได้ในช่วงการระบาดของโรคโควิด หรือแม้แต่ในช่วงการระบาดของไข้ทรพิษ เมื่อทศวรรษที่ 2400

องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่ามีเด็กทารกมากกว่า 80 ล้านคน ที่ตกอยู่ในความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด ใน 68 ประเทศทั่วโลก เพราะกระบวนการฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างล่าช้า

นอกจากนี้ ยังพบบางโรคมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในระยะหลัง เช่น โรคหัด คอตีบ โปลิโอ และไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคที่ป้องกันได้หากได้รับวัคซีนทันท่วงที

ประวัติศาสตร์ของวัคซีนยังไม่จบ แม้ว่ากระบวนการคิดค้นวัคซีนจะรุดหน้าไปมาก ยังต้องการเม็ดเงินลงทุนมหาศาลเพื่อคิดค้นวัคซีนใหม่ๆ มาต้านโรคอุบัติใหม่ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 300 โรคตั้งแต่ปี 2483 เป็นต้นมา

โรคระบาดอุบัติใหม่ยังคงเป็นภัยคุกคามที่ไม่หายไปในอนาคต

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://www.weforum.org/agenda/2022/04/from-cholera-to-covid-a-brief-history-of-vaccines/