ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข้อมูลจาก “แผนกำลังคน ตามการจัดระบบบริการโดยเขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2563-2567” (Blueprint of Health Service and Human Resource) รายงานจำนวนตัวเลขวิชาชีพหลักของงานสาธารณสุขในประเทศไทย อันได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และทันตแพทย์

หากนับจากสถิติกำลังคนด้านสุขภาพ ทั้ง 12 เขตสุขภาพที่สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะพบว่าสถานการณ์ของทั้ง 4 วิชาชีพรวมกันนั้นยังคงขาดแคลนถึง 38,174 ตำแหน่ง โดยยังมีความต้องการเพิ่มของแพทย์ 6,115 ตำแหน่ง พยาบาล 28,174 ตำแหน่ง เภสัชกร 1,919 ตำแหน่ง และทันตแพทย์อีก 1,966 ตำแหน่ง

จากตรงจุดนี้เมื่อมองถึงระดับภูมิภาค เปรียบเทียบกันในประเทศอาเซียน บุคลากรทางการแพทย์ของไทยที่ว่าขาดแคลนนั้น ครอบคลุมประชากรเท่าไร? และเพื่อนบ้านใกล้เคียงของเรานั้นมีสถานการณ์อย่างไร?

ที่มา:
"สิงคโปร์" จากสำนักงานสถิติสิงคโปร์ และรายงานกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ ปี 2561
"มาเลเซีย" จากกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย และ Malaysian Human Resources for Health Country Profiles
"บรูไน" จากรายงานของกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ บรูไน
"ไทย" จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และรายงานสำนักปลัดประทรวงสาธารณสุข ปี 2563
"อินโดนีเซีย" จากสำนักงานสถิติอินโดนีเซีย ปี 2564, กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย ปี 2563 และ National Institute of Health Human Resources Development and Empowerment
"เวียดนาม" จากสำนักงานสถิกลาง และรายงานรัฐบาลเวียดนาม ปี 2564
"ฟิลิปปินส์" จาการสำมโนประชากรปี 2563 โดยรัฐบาลฟิลิปปินส์, กระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์, รายงานขององค์การอนามัยโลก, สมาคมเภสัชกรฟิลิปปินส์ ปี 2562
(เมียนมา, ลาว และกัมพูชา ไม่สามารถหาจำนวนข้อมูลที่ครบถ้วนได้)