ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เผยแพร่ “รายละเอียดตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2565” ไว้บนเว็บไซต์ https://spd.moph.go.th/ โดยมีทั้งสิ้น 14 แผนงาน 38 โครงการ และ 65 ตัวชี้วัด เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงาน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน

สำหรับ 65 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1. อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน 2. เด็กไทยมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย 3. เด็กไทยมีระดับสติปัญญาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 100 4. อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อจํานวนประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน 5. ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan

6. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ได้รับการดูแลทั้งในสถานบริการและในชุมชน 7. ร้อยละของผู้สูงอายุที่ผ่านการคัดกรองและพบว่าเป็น Geriatric Syndromes ได้รับการ 33 ดูแลรักษาในคลินิกผู้สูงอายุ 8. จํานวนคนมีความรอบรู้สุขภาพ 9. ร้อยละของอําเภอผ่านเกณฑ์การประเมินการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพ 10. ระดับความสําเร็จในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของหน่วยงานระดับจังหวัด

11. ร้อยละการตรวจตดิ ตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และ/หรือความดันโลหิตสูง 12. ร้อยละของจังหวัดที่ผ่านการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบ อาชีพและสิ่งแวดล้อม 13. ร้อยละของจังหวัดที่สามารถควบคุมสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้สงบได้ภายใน 21 – 28 วัน 14. ระดับความสําเร็จในการเตรียมพร้อมและตอบโต้การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 15. จํานวนผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเป้าหมายที่เกิดจากการส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถได้รับการอนุญาต

16. จังหวัดมีการขับเคลื่อนการดําเนินงานอาหารปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ 17. ร้อยละของโรงพยาบาลที่พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital 18. ร้อยละของจังหวัดจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการลดลงของอัตราป่วย ด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย และมลพิษสิ่งแวดล้อม 19. จํานวนการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 20. จํานวนประชาชนที่มีรายชื่ออยู่ในหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้รับการดูแลโดยแพทย์เวชศาสตรครอบครัวหรือแพทย์ที่ผ่านการอบรมและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ

21. ร้อยละของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการดูแลจาก อสม. หมอประจําบ้าน มีคุณภาพชีวิตที่ดี 22. อัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และได้รับการรักษาใน Stroke Unit 23. อัตราความสําเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ 24. อัตราป่วยตายของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทั้งประเทศ 25. ร้อยละจังหวัดที่ขับเคลื่อนการพัฒนาสูงจังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU province) ตามเกณฑ์​ที่กําหนด

26. อัตราการติดเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด 27. อัตราตายทารกแรกเกิดอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 วัน 28. ร้อยละการให้การดูแลตามแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) ในผู้ป่วยประคับประคองอย่างมีคุณภาพ 29. ร้อยละของผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่ได้รับบริการตรวจ วินิจฉัย รักษาโรค และฟื้นฟูสภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 30. ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการสุขภาพจิต

31. อัตราการฆ่าตัวตายสําเร็จ 32. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired 33. Refracture Rate 34. อัตราตายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI และการให้การรักษาตามมาตรฐานตามเวลาที่กําหนด 35. ร้อยละผู้ป่วยมะเร็ง 5 อันดับแรกได้รับการรักษาภายในระยะเวลาที่กําหนด

36. ร้อยละผู้ป่วย CKD ที่มีค่า eGFR ลดลง < 5 ml/min/1.73m2/yr 37. ร้อยละผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอด (Blinding Cataract) ได้รับการผ่าตัดภายใน 30 วัน 38. อัตราส่วนของจํานวนผู้ยินยอมบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตาย ต่อจํานวนผู้เสียชีวิตในโรงพยาบาล (โรงพยาบาล A, S) 39. ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษาได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องจนถึงการติดตาม (Retention Rate) 40. ร้อยละของผู้ป่วย Intermediate care ได้รับการบริบาลฟื้นสภาพและติดตามจนครบ 6 เดือน หรือจน Barthel index = 20 ก่อนครบ 6 เดือน

41. ร้อยละของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบ One Day Surgery 42. ร้อยละของการ Re-admit ภายใน 1 เดือน จากการผ่าตัดโรคนิ่วในถุงน้ำดีและหรือถุงน้ำดีอักเสบ ผ่านการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery : MIS) 43. ร้อยละของหน่วยบริการสาธารณสุขที่มีการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ 44. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน (triage level 1) ภายใน 24 ชั่วโมง ในโรงพยาบาลระดับ A, S, M1 (ท้ังที่ ER และ Admit) 45. ร้อยละของประชากรเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

46. ร้อยละของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ผ่านเกณฑ์ ER คุณภาพ 47. ร้อยละของหน่วยบริการกลุ่มเป้าหมายมีมาตรฐานการบริการสุขภาพนักท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะตามที่กําหนด 48. อัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ได้รับมาตรฐานตามที่กําหนด 49. มูลค่าการใช้ยาสมุนไพรในเมืองสมุนไพรและจังหวัดในเขตสุขภาพเพิ่มขึ้น 50. ร้อยละของเขตสุขภาพที่มีการบริหารจัดการกําลังคนที่มีประสิทธิภาพ

51. ร้อยละของบุคลากรที่มีความพร้อมรองรับการเข้าสู่ตําแหน่งที่สูงขึ้นได้รับการพัฒนา 52. องค์กรแห่งความสุขที่มีคุณภาพ 53. ร้อยละของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA 54. ร้อยละของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA 55. ร้อยละของส่วนราชการและหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์การตรวจสอบและประเมินผลระบบการควบคุมภายใน

56. ร้อยละความสําเร็จของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ดําเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐผ่านเกณฑ์ที่กําหนด 57. ร้อยละของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีคุณภาพมาตรฐานผ่านการรับรอง HA ขั้น 3 58. ร้อยละของ รพ.สต. ที่ผ่านเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพ รพ.สต.ติดดาว 59. ร้อยละของจังหวัดที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพข้อมูล 60. ร้อยละของโรงพยาบาลที่มีบริการรับยาที่ร้านยา โดยใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ (e-prescription)

61. ความแตกต่างการใช้สิทธิ เมื่อไปใช้บริการผู้ป่วยในของผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 62. ระดับความสําเร็จของการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กลางการดูแลปฐมภูมิของระบบหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบ 63. ร้อยละของหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน 64. จํานวนนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสุขภาพที่คิดค้นใหม่หรือที่พัฒนาต่อยอด 65. ร้อยละของเขตสุขภาพที่มีการขยายผลนวัตกรรมการจัดการบริการสุขภาพ

รายละเอียดตัวชี้วัดประจำปี 2565 ฉบับเต็ม : https://spd.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/PDF%20File_1.pdf