ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เว็บไซต์องค์การอนามัยโลกรายงานเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยกับการลดผลกระทบจากโรคเบาหวานว่า “ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวาน และอาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วย ก็นับว่าคุณโชคดี”  โดยระบุว่า

เพราะว่าประเทศไทยเริ่มมีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ทำให้มีระบบประกันสุขภาพภาครัฐครอบคลุมประชาชนไทยทุกคน โดยใช้ภาษีและเงินจ่ายสมทบจากผู้ประกันตนในส่วนของระบบประกันสังคม ทำให้การจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากกระเป๋าของผู้ป่วยและครอบครัวลดลง

ทั้งยังเพิ่มการเข้าถึงบริการและยาที่จำเป็น ทำให้อัตรารอดและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทย ที่มีอยู่ประมาณเกือบ 10% ของประชากรประมาณเกือบ 68 ล้านคน ดีขึ้น 

“ด้วยระบบหลักประกันถ้วนหน้า ทำให้ประเทศไทยมีระบบบริการสุขภาพที่ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” Dr.Nima Asgari-Jirhandeh, WHO Public Health Administrator กล่าว โดยสถานีอนามัยในพื้นที่ทำหน้าที่ดูแลในการตรวจเลือดและรักษาเบื้องต้น “ถ้าจำเป็นก็สามารถส่งตัวผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาลชุมชนได้” เขากล่าวเสริม  

โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้ทั้งเด็ก และผู้ป่วย 

โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ถ้าบริการจัดการได้ดี ผู้ป่วยก็จะสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ซึ่ง คุณนิ ผู้ป่วยวัย 26 ปี ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ก็ทราบดี  

“ฉันเป็นแม่มือใหม่ ที่ยังมีอะไรหลายอย่างต้องฝึกหัด” เธอเล่าไปในขณะที่อุ้มหนูมิ ลูกสาววัยเดือนเดียวของเธอ ในระหว่างรอตรวจอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ที่เธอต้องมาพบแพทย์ทุกสัปดาห์

“สิ่งหนึ่งที่ฉัน ดีใจก็คือลูกฉันไม่ได้เป็นเบาหวาน และฉันสามารถให้นมลูกได้” 

ในความเป็นจริง เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะพบการเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่เกิด แต่ในกรณีของเบาหวานชนิดที่ 1 ที่เคยเรียกว่า juvenile-onset diabetes มักจะพบในเด็กแต่ก็สามารถพบได้ในผู้ใหญ่เช่นกัน ทำให้มีความจำเป็นสำหรับการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 1  

สำหรับเด็กอนุบาลอย่างน้องซิป การเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หมายความว่าเขาต้องพึ่งคุณครูในการดูแลเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของเขาต่ำ เพราะการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมจะส่งผลให้หมดสติ ชัก หรืออาจจะถึงแก่ชีวิตได้ 

“น้องซิป มีคุณครูที่ดี” คุณแม่ของน้องกล่าว โดยเธอต้องมั่นใจว่าคุณครูจะมีน้ำหวานที่พร้อมสำหรับให้น้องซิปเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

“ฉันยินดีมากที่มีคุณครูคอยช่วยเหลือ” คิม เด็กหนุ่มวัย 16 ปี ที่ร่วมคณะละครหน้ากาก ที่เรียกว่า Khon (โขน) ที่ต้องร่วมเดินทางเพื่อไปแสดงกับคณะละคร

“ตอนแรก ผมก็ไม่มั่นใจว่าภาวะสุขภาพของผมจะสามารถเดินทางได้หรือไม่” เขากล่าวเสริม “แต่ผมก็เตรียมตัวอย่างดี และไม่เคยลืมกล่องยาของผมเลยครับ”

ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 

ประเทศไทยก็มีการเตรียมการอย่างดีเช่นกัน ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศไทยจะอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 5 ของผลผลิตมวลรวมของประเทศ (หรือ GDP) แต่สถานีอนามัยก็มีอินซูลินไว้ให้บริการฟรี ถึงแม้ว่าแถบวัดระดับน้ำตาลในเลือดจะไม่ฟรี แต่ผู้ป่วยเบาหวานก็สามารถไปรับการตรวจเลือด ณ สถานพยาบาลในพื้นที่ได้ โดยสามารถเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลเลือดทุก 3 เดือนและการตรวจระดับของ HbA1c ได้ปีละครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย     

การคัดกรองตาต้อกระจก ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ก็ครอบคลุมให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปด้วย 

องค์การอนามัยโลกเองก็มีบทบาทในการช่วยบรรเทาความเสี่ยงต่อเบาหวานในระยะยาว ของประเทศไทย โดยการสนับสนุนรัฐบาลไทย ในการควบคุบุหรี่ และการส่งเสริมการออกกำลังกาย  

นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก ยังร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เช่น ปัญหาโรคอ้วน การลดการบริโภคเกลือ เป็นต้น 

น้องซิป เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่จะต้องนำน้ำหวานไปให้คุณครูที่โรงเรียนเก็บไว้ให้เขาตอนที่ระดับน้ำตาลในเลือดของเขาต่ำ  

ที่มา: World Health Organization
http://www.who.int/features/2016/thailand-eases-diabetes/en/